ข่าวด้านอวกาศ และดาราศาสตร์
เดือน มิถุนายน 2547
ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์เป็นครั้งแรกในรอบ 122 ปี
(Venus to "Eclipse" Sun for first Time in 122 Years)
ในวันอังคารที่ 8 มิถุนายน ดาวศุกร์จะเคลื่อนที่ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ ไม่มีใครที่ยังคงมีชีวิตอยู่ในวันนี้ที่เคยเห็นดาวศุกร์เคลื่อนผ่านหน้าดวงอาทิตย์ ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในปี 1882 และนักดาราศาสตร์ทั่วโลกต่างล้วนใจจดใจจ่อรอคอยกับปรากฏการณ์นี้ที่ไม่ค่อยจะเกิดขึ้น จะมีเพียงอีกหนึ่งครั้งที่จะเกิดขึ้นในศตวรรษนี้ คืออีก 8 ปีนับจากนี้ ในวันที่ 6 มิถุนายน 2012
การที่ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์อาจจินตนาการว่าเหมือนสุริยุปราคาขนาดย่อม ในระหว่างการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ดวงจันทร์มาบดบังดวงอาทิตย์เต็มดวงเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น แต่แม้ว่าดาวศุกร์มีขนาดที่ใหญ่กว่าดวงจันทร์มาก มันก็อยู่ไกลว่าถึง 100 เท่าด้วย ดังนั้น ดาวศุกร์จึงสามารถบังดวงอาทิตย์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในขณะที่ดาวศุกร์ใช้เวลานานในการเคลื่อนที่ข้ามผ่านดวงอาทิตย์ ดาวศุกร์จะปรากฏตัวเป็นจุดดำกลมที่สมบูรณ์เคลื่อนที่อย่างช้าๆ ผ่านด้านหน้าของดวงอาทิตย์ ที่น่าสนใจมากที่สุดของเหตุการณ์ ซึ่งนานถึง 6 ช.ม. จะเกิดขึ้นเมื่อดาวศุกร์เคลื่อนที่เข้าและออก ณ ขอบของดวงอาทิตย์ ยกตัวอย่าง เหมือนกับเมื่อมันเริ่มออกจากดวงอาทิตย์ ภาพเงาดำของดาวศุกร์จะดูคล้ายลูกแพร์ที่ยาวรี (ดูรูป) การเกิดเช่นนี้เรียกว่า ปรากฏการณ์หยดสีดำ
สำหรับผู้สังเกตการณ์ในเขตตะวันออกและเขตกลางของทวีปอเมริกาเหนือ ดวงอาทิตย์ขึ้นในวันที่ 8 มิถุนายน ในขณะที่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นอยู่ เหตุการณ์ที่ครบถ้วนสมบูรณ์จะสามารถเห็นได้จากทวีปยุโรป, อาฟริกากลาง/อาฟริกาตะวันออก, ตะวันออกกลาง และเอเซีย (ยกเว้น เอเซียตะวันออก) ดังแสดงในรูป โดยประเทศไทยอยู่ในเขตที่ชมได้ตลอดเหตุการณ์
ช่างนาฬิกาชาวออสเตรเลีย F. Allerding บันทึกภาพปรากฏการณ์หยดดำ ที่เงาของดาวศุกร์กำลังจะออกจากขอบดวงอาทิตย์
เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 1874 (Courtesy Institute for Astronomy, University of Vienna)
คำเตือน: ดวงอาทิตย์เป็นอันตรายต่อการมองโดยตรงโดยปราศจากการใช้แผ่นกรองแสงพิเศษสำหรับการสังเกตดวงอาทิตย์ การจ้องดวงอาทิตย์จะทำให้ดวงตาบาดเจ็บถึงขั้นบอดได้
นับว่าโชคดี ที่มีหลายวิธีการที่ง่ายและปลอดภัยในการมองการเคลื่อนที่ผ่านดวงอาทิตย์ ถ้าคุณมีสายตาที่หลักแหลม ดาวศุกร์ควรปรากฏเพียงใหญ่พอที่จะเห็นได้ด้วยตาเปล่าเหมือนกับจุดดำเล็กๆ ขณะที่ข้ามผ่านดวงอาทิตย์ แต่ขณะที่กำลังมองยังดวงอาทิตย์คุณต้องใช้แผ่นฟิล์มกรองแสงพิเศษ เช่น แว่นป้องกันแสงจากการเชื่อมโลหะหมายเลข 13 หรือ 14 หรือ แว่นดูสุริยุปราคาชนิดพิเศษ ที่ถูกออกแบบพิเศษเพื่อการมองดวงอาทิตย์ ฟิล์มที่ไม่ปลอดภัย (ถึงแม้ว่ามักมีการแนะนำโดยผิดพลาด) รวมทั้งแว่นป้องกันควัน, แว่นกันแดด, กระดาษฟอยล์ห่อลูกอม, และ แผ่นกลม ในขณะที่สิ่งเหล่านี้จะทำให้ดวงอาทิตย์มืดลง ก็ยังคงปล่อยผ่านรังสีอินฟราเรดเพียงพอที่จะทำลายดวงตาของท่านได้
กล้องส่องทางไกลหรือกล้องโทรทรรศน์สามารถใช้ในการมองการเคลื่อนที่ของดาวศุกร์ผ่านดวงอาทิตย์ ถึงแม้ว่าไม่มีอุปกรณ์แผ่นกรองแสงพิเศษ เพียงแต่ไม่ต้องมองโดยตรงเข้าไปในช่องมองภาพ (eyepiece) หรือกล้องช่วยหาตำแหน่ง (finder) ของกล้องโทรทรรศน์ แต่ใช้กระดาษขาวแทน โดยฉายภาพดวงอาทิตย์ออกผ่านช่องมองภาพ จนภาพปรากฏบนกระดาษ (กล้องโทรทรรศน์ที่เก่าอาจมีแผ่นเล็กดำๆ ที่ช่องมองภาพซึ่งจะไม่ปลอดภัย และควรจะทิ้งไป แสงและความร้อนของดวงอาทิตย์ อาจทำให้แผ่นนี้แตกได้อย่างกะทันหัน)
เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นทางด้านอเมริกาเหนือในวันที่ 8 มิถุนายน การเคลื่อนที่ผ่านดวงอาทิตย์ของดาวศุกร์จะเกิดขึ้นผ่านไปแล้วมากกว่าครึ่งทาง ตามเส้นทางในรูป ส่วนในประเทศไทยดูได้ทั้งหมด ในการสัมผัสครั้งที่หนึ่ง(Contact I) ณ เวลา 12:13 น. (ตามเวลาในประเทศไทย) เงาดาวศุกร์เพิ่งเริ่มเข้ามาข้างหน้าดวงอาทิตย์และเลิกสัมผัสขอบตอนการสัมผัสครั้งที่ 2 (Contact II) เวลา 12:31 น. การสัมผัสครั้งที่สาม (Contact III) แสดงว่า เงาของดาวศุกร์เพิ่งสัมผัสขอบด้านออกของดวงอาทิตย์ ณ เวลา 18:00 น. และหลังจากนั้นประมาณ 20 นาที หรือ 18:20 น. จะมีการสัมผัสครั้งที่สี่ (Contact IV) โดยดาวศุกร์จะออกจากดวงอาทิตย์อย่างสมบูรณ์ ระหว่างการเคลื่อนที่ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ ดาวศุกร์จะดูคล้ายวงกลมดำที่คมชัด ความแตกต่างของจุดมืดบนดวงอาทิตย์คือ แม้ว่าจุดมืดจะดูดำ แต่โดยปกติจะมีรูปร่างไม่เรียบและขอบไม่ชัดเจน
การเคลื่อนที่ผ่านดวงอาทิตย์ทั้งหมดของดาวศุกร์ สามารถดูได้จากทวีปยุโรป, อาฟริกา, ตะวันออกกลาง,
และส่วนใหญ่ของทวีปเอเซีย
นักศึกษาของวิทยาลัย Vassar มลรัฐนิวยอร์ก ได้บันทึกภาพของการเคลื่อนที่ผ่านดวงอาทิตย์ของดาวศุกร์
ในวันที่ 6 ธันวาคม 1882 (Courtesy Vassar College)
ข้อมูลเพิ่มเติม (more information): http://skyandtelescope.com
Webcast Sites
Exploratorium (Athens, Greece)
Ecole Superieure d'Optique (Saint Etienne, France) Centro de Observão Astronómica no Algarve (Portugal) Norwegian Astronomical Society (Oslo, Norway) |
ยานอวกาศ คาสินี (Cassini) กำลังจะไขความลับของดาวเสาร์
Cassini Wii Unlock Saturn' s Secrets
ยานอวกาศนานาชาติ คาสินี-ฮอยเกนส์
กำลังจะเริ่มการสำรวจดาวเสาร์ วงแหวนที่แสนสวยงาม และดาวบริวาร 31
ดวงของดาวเสาร์ หลังจากการเดินทางเกือบเจ็ดปี ยานอวกาศ คาสินี
มีกำหนดการเข้าสู่วงโคจรรอบดาวเสาร์ เวลา 09.30 น.
ของวันที่ 1 กรกฎาคม 2004
ตามเวลาในประเทศไทย ระบบดาวเสาร์คือ ห้องทดลองที่ยอดเยี่ยม โดยเราสามารถพบคำตอบของคำถามพื้นฐานหลายอย่างเกี่ยวกับฟิสิกส์, เคมี, และวิวัฒนาการของดาวเคราะห์ พร้อมด้วยเงื่อนไขของการเกิดสิ่งมีชีวิต กล่าวโดย Dr. Ed Weiler ผู้บริหารด้านวิทยาศาสตร์อวกาศขององค์กร นาซ่า(nasa), กรุงวอชิงตัน |
|
ยานอวกาศคาสินี เริ่มภารกิจเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2540 โดยได้เดินทางครอบคลุมถึง 3.5 ล้านกิโลเมตร | |
ยานอวกาศคาสินี เป็นยานอวกาศที่มีอุปกรณ์มากที่สุดและความสามารถทางวิทยาศาสตร์มากที่สุดที่เคยใช้ในการสำรวจดาวเคราะห์ โดยมีเครื่องมือ 12 ชุดบนยานอวกาศคาสินี ซึ่งจะโคจรรอบดาวเสาร์ และเครื่องมืออีก 6 ชุด ที่ยานสำรวจ ฮอยเกนส์ ซึ่งจะพุ่งเข้าไปในบรรยากาศของดาวบริวารไทแทน ยานอวกาศเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นด้วยความพยายามของนักวิทยาศาสตร์ที่มีความชำนาญรวมถึง 260 คน จากประเทศสหรัฐอเมริกา และอีก 17 ประเทศ จากยุโรป ยานอวกาศคาสินี มีต้นทุนในการสร้างประมาณ 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ยานอวกาศคาสินี-ฮอยเกนส์จะใช้เวลาสี่ปีในการศึกษาดาวเสาร์ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ 18 ชุดดังกล่าวจะศึกษาวงแหวนของดาวเสาร์, ดาวบริวารที่เป็นน้ำแข็ง, แมกนีโตสเฟียร์(magnetosphere; บริเวณที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของสนามแม่เหล็ก) ของดาวเสาร์, และดาวบริวารไทแทน(Titan) ซึ่งเป็นดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุดของดาวเคราะห์นี้ ในระหว่างการเดินทาง จะมีการเข้าใกล้ดาวบริวาร 52 ครั้ง ซึ่งเป็นการเข้าใกล้ดาวบริวาร 7 ดวงจากทั้งหมด 31 ดวง ดาวเสาร์นับเป็นดาวเคราะห์ดวงที่หกจากดวงอาทิตย์ ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของระบบสุริยะ รองจากดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์และระบบวงแหวน สามารถมองเป็นระบบจำลองของกลุ่มแก๊สและฝุ่นที่เคยล้อมรอบดวงอาทิตย์ และก่อกำเนิดดาวเคราะห์ต่างๆ ในระยะเริ่มแรกของระบบสุริยะ ความรู้เกี่ยวกับรายละเอียดของการเคลื่อนที่ที่มีปฏิกิริยาต่อกันระหว่างวงแหวนของดาวเสาร์กับดาวบริวารต่างๆ ที่แตกต่างกัน จะให้ข้อมูลที่มีคุณค่าเพื่อเข้าใจวิวัฒนาการของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ส่วนการศึกษาดาวไทแทน ดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ คือเป้าหมายใหญ่อย่างหนึ่งของโครงการนี้ ดาวไทแทนอาจรักษาไว้ในสภาพที่เย็นจัด และมีสารเคมีหลายชนิดที่มีที่โลกของเราก่อนสิ่งมีชีวิตจะเกิดขึ้น ยานอวกาศคาสินีจะปฏิบัติการบินผ่านดาวไทแทน 45 ครั้ง เข้าใกล้ถึงประมาณ 950 กิโลเมตรจากพื้นผิว ซึ่งจะเปิดโอกาสในการทำแผนที่ของดาวบริวารอย่างละเอียดมาก โดยใช้เครื่องมือในการสร้างภาพด้วยเรดาร์ ซึ่งจะสามารถมองผ่านเมฆหมอกทึบๆ ในชั้นบรรยากาศด้านบนของดาวไทแทน เป็นครั้งแรก Dr. Dennis Matson นักวิทยาศาสตร์ขององค์กรนาซ่า ใน Jet Propulsion Laboratory (JPL), Pasadena, California กล่าวว่า ดาวไทแทนเหมือนกับเครื่องย้อนเวลาที่สามารถบอกเราได้ว่า ในอดีต โลกของเรามีลักษณะอย่างไร Dr. Dennis Matson กล่าวต่อว่า ดาวบริวารนี้ ซึ่งซ่อนไว้ใต้หมอกมัวๆ อาจจะเก็บกุญแจที่จะไขปริศนาถึงการวิวัฒนาการของโลกมาตั้งแต่ในอดีตสู่ดาวเคราะห์ที่มีสิ่งมีชีวิต วันที่ 24 ธันวาคม 2547 ยานอวกาศคาสินีจะรับหน้าที่ปล่อยยานฮอยเกนส์ ซึ่งมีรูปร่างเหมือนกะทะของชาวเอเซีย เพื่อการเดินทางไปดาวไทแทน ฮอยเกนส์คือยานสำรวจลำแรกที่ถูกออกแบบให้ลงไปยังพื้นผิวของดาวบริวารของดาวเคราะห์อื่น และมีระยะทางไกลที่สุดจากโลกของยานสำรวจที่พยายามเข้าไปยังวัตถุในระบบสุริยะ ในวันที่ 14 มกราคม 2548 หลังจาก 3 อาทิตย์ของการเคลื่อนที่อย่างอิสระ ยานฮอยเกนส์จะเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของดาวไทแทน ต่อจากนั้นจะปล่อยร่มชูชีพ และเริ่มต้น 2.5 ชั่วโมงของการสังเกตทางวิทยาศาสตร์อย่างคร่ำเคร่ง ยานสำรวจฮอยเกนส์จะส่งข้อมูลไปยังยานอวกาศคาสินี ซึ่งจะถ่ายทอดข้อมูลต่อไปยังโลก |
JPL เป็นหน่วยออกแบบ พัฒนา และควบคุมการโคจรของยานอวกาศคาสินี โดยมีทีมงานอยู่ที่ศูนย์วิจัยและเทคโนโลยีอวกาศยุโรปใน Noordwijk ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งคอยจัดการการพัฒนายานสำรวจฮอยเกนส์ นอกจากนี้ ศูนย์อวกาศอิตาเลียน เตรียมระบบเสาอากาศทางคลื่นวิทยุและส่วนประกอบของเครื่องมือวิทยาศาสตร์ของยานอวกาศคาสินี JPL จัดการโครงการทั้งหมดสำหรับสำนักงานวิทยาศาสตร์อวกาศขององค์กรนาซ่า สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับยานอวกาศคาสินี-ฮอยเกนส์ ไปยังดาวเสาร์และดาวไทแทน ในอินเตอร์เนท สามารถเข้าชมได้ใน http://www.nasa.gov/cassini & http://saturn.jpl.nasa.gov |
หยดดำหายไปไหน?
ภาพเหล่านี้ถ่ายในประเทศสิงคโปร์ แสดงถึงปรากฏการณ์หยดดำอย่างเห็นได้ชัด แต่โดยส่วนใหญ่ ภาพที่มีคุณภาพสูงกว่า (จากผู้สังเกตทั่วโลก)
ไม่ได้แสดงถึงปรากฏการณ์นี้เลย (Courtesy Joseph Tey)
เท่าที่มีการรายงานการเคลื่อนที่ของดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์จากทั่วโลก เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. ที่ผ่านมา คำถามที่มีมากที่สุดคือ เรื่องปรากฏการณ์หยดดำ ทำไมมีบางคนที่เห็นหยดดำในขณะที่บางคนไม่เห็น? ปรากฏการณ์หยดดำได้เกิดขึ้นหรือเปล่า?
ปรากฏการณ์หยดดำอาจจะมองเห็น ขณะที่เงาของดาวศุกร์เข้ามาสัมผัสกับด้านในของขอบดวงอาทิตย์แล้ว (สัมผัสครั้งที่สอง หรือ second contact) โดยมีช่องสีดำเชื่อมระหว่างเงาดาวศุกร์กับฟ้ามืดนอกขอบดวงอาทิตย์ (ดังเห็นในรูป) และในบางช่วงเวลา เงาดำของดาวศุกร์มีลักษณะเหมือนรูปหยดน้ำ เหตุการณ์นี้มีการสังเกตและให้ความเห็นอย่างกว้างขวางในศตวรรษที่ 18 และ 19 แต่ครั้งนี้ ผู้สังเกตการณ์ส่วนใหญ่ (รวมทั้งกลุ่มเรา! คลิกที่นี่เพื่อดูรูป) รายงานว่าไม่ได้เห็นปรากฏการณ์หยดดำ ส่วนผู้สังเกตที่รายงานว่าเห็นหยดดำในครั้งนี้ มักจะรายงานว่า เห็นหยดดำเพียงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับภาพถ่ายและรายงานในอดีต
มีความคิดเห็นต่างๆ ว่าทำไมถึงมีข้อแตกต่าง ระหว่างการสังเกตในปัจจุบันและในอดีต คนส่วนใหญ่คิดว่าเกี่ยวกับกล้อง โทรทรรศน์ที่มีคุณภาพดีขึ้น นอกจากนั้น มีความคิดว่าสภาพอากาศที่ดี ทำให้เห็นปรากฏการณ์ได้ชัดเจน จนไม่เห็นภาพลวงตา หยดดำ
Lorenzo Comolli มองการเคลื่อนที่ของดาวศุกร์ผ่านดวงอาทิตย์จากรอบนอกของเมือง Milan ประเทศอิตาลี ด้วยกล้องโทรทรรศน์ Schmidt-Cassegrain ขนาด 8 นิ้ว และรายงานว่าเห็นหยดดำในตอนเคลื่อนที่ออกจากดวงอาทิตย์และไม่เห็นตอนเข้า ที่บริเวณทางเข้า เขากล่าวว่า เพราะว่าสภาพอากาศดี ผมไม่เห็นหยดดำ ในทางเข้าของขอบดวงอาทิตย์คมชัดมาก ที่ทางออก สภาพอากาศไม่ดี ปรากฏการณ์หยดดำเห็นชัดเจน โดยเฉพาะในขณะที่สถานการณ์การมองแย่
Govert Schilling บรรณาธิการของนิตยสาร Sky and Telescope ซึ่งสังเกตการเคลื่อนที่ของดาวศุกร์จากเมือง Utrecht, ประเทศเนเธอร์แลนด์ กล่าวว่า เมื่อมองดูในตอนเข้าด้วยกล้องส่องทางไกล ผมนึกว่าผมสามารถเห็นบางสิ่งที่คุณจะเรียกว่าปรากฏการณ์หยดดำ แต่เมื่อมองผ่านเครื่องมือที่ใหญ่ขึ้น (ณ Sonnenborgh Observatory) ไม่เห็นมีอะไรที่เหมือนหยดดำ"
บางรูปของดาวศุกร์ที่เคลื่อนที่ผ่านดวงอาทิตย์ แสดงให้เห็นถึงจุดสัมผัสที่ปราศจากหยดดำใดๆ (ดูรูปข้างต้น) อีกบางรูปแสดงบริเวณที่มืด ระหว่างดาวศุกร์และขอบของดวงอาทิตย์ในตอนเข้าหรือทางออก ซึ่งแท้จริงไม่ได้ทำให้ขอบของดาวเคราะห์เปลี่ยนไป มีเพียงส่วนน้อยที่แสดงถึงรูปหยดน้ำตามรายงานจากในอดีต
รูป 3 ภาพ ถูกรวมเพื่อแสดงให้เห็นดาวศุกร์ตอนการสัมผัสครั้งที่สอง ภาพนี้ถ่ายจาก Vatican Observatoryด้วยกล้อง 16 นิ้ว f/16 refractor ที่ Summer Residence ของพระสันตะปาปา ณ Castel Gandolfo, ประเทศอิตาลี(Sky & Telescope photograph โดย Dennis di Cicco)
ปรากฏการณ์หยดดำ อาจจะมีระดับต่างๆ กล่าวโดย Jay Pasachoff (Williams College) เขาพูดถึงการศึกษาของเขาร่วมกับ Glenn Schneider (University of Arizona) เกี่ยวกับภาพจากอวกาศในปี 1999 และ 2003 ของการเคลื่อนที่ของดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ ที่ถูกแสดงโดยกล้องโทรทรรศน์ และสามารถแยกจุดและเส้นที่ใกล้ชิดกันอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นปัจจัยในการเกิดปรากฏการณ์หยดดำ ดังนั้นมันไม่น่าประหลาดใจที่กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ ที่มีกำลังขยายดีกว่า ไม่สามารถแสดงปรากฏการณ์หยดดำได้ Pasachoff จะศึกษาภาพจาก Transition Region and Coronal Explorer (TRACE) ดาวเทียม เพื่อที่จะพยายามเข้าใจปรากฏการณ์นี้ได้ดียิ่งขึ้น
ดังนั้น ปรากฏการณ์หยดดำ ยังคงเป็นปริศนาที่ลึกลับในศตวรรษที่ 21 เช่นเดียวกับใน ศตวรรษที่ 19 ข้อโต้แย้งที่ดูเหมือนยังคงมีอยู่ ว่าอะไรคือลักษณะที่แท้จริงของหยดดำ ในขณะที่มีการเห็นปรากฏการณ์นี้น้อยลง และยังไม่แน่ชัดว่าเงื่อนไขใดทำให้เกิดปรากฏการณ์หยดดำ โดยนักสังเกตการณ์จะนำหลักฐานที่บันทึกไว้มาเปรียบเทียบกัน และมีโอกาสว่าจะยังเป็นปริศนาในครั้งต่อไปของการเคลื่อนที่ของดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555
การเคลื่อนที่ของดาวศุกร์ในทางออก ในปี 1874 วาดภาพโดย Henry Chamberlain Russell ซึ่งใช้เลนซ์ขนาด 11.5 นิ้ว ภาพในทางขวามือแสดงถึงหยดดำหลังจากสัมผัสครั้งที่สาม ขณะที่รูปอื่นๆ แสดง (จากขวามาซ้าย) การพัฒนาของความสว่างของวงแหวน จากการที่ Russell ใช้แท่งแก้วปริซึมทแยง ทำให้รูปนี้สลับซ้ายขวา (Courtesy John Westfall)
ที่มา: http: skyandtelescope.com
สหรัฐปล่อยยานอวกาศ 'สเปซ ชิป วัน' [22/6/47]
(ไอทีวี) ชาวแคลิฟอร์เนียร่วมเป็นสักขีพยานในการปล่อยยานอวกาศพลังไอพ่น ซึ่งภาคเอกชนของสหรัฐเป็นผู้พัฒนาขึ้นเป็นลำแรก ประชาชนชาวแคลิฟอร์เนียร่วมเป็นพยานในการปล่อยเครื่องบินเจ็ทขนาดใหญ่ซึ่งบรรทุกยานอวกาศ 'สเปซ ชิป วัน'(SpaceShipOne) ขึ้นจากรันเวย์สนามบินโมจาวี่ ยานอวกาศ สเปซ ชิป วัน เป็นยานอวกาศลำแรกในประวัติศาสตร์ของสหรัฐที่ภาคเอกชนเป็นผู้พัฒนาขึ้น ยานสเปซ ชิป วัน จะจุดระเบิดที่ระดับความสูง 48,000 ฟุต หรือ15 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก และนายไมค์ เมลวิล ชาวแอฟริกาใต้วัย 62 ปี เป็นผู้ขับยานลำนี้บินสู่อวกาศ เหนือบรรยากาศโลกกว่า 100 กิโลเมตร ก่อนจะกลับสู่พื้นโลกอีกครั้ง
|
ทั้งนี้ ยานสเปซ ชิป วัน ถูกพัฒนาโดยนายเบิร์ท รูทาน วิศวกรยานอวกาศซึ่งเคยออกแบบโวยาจเจอร์ ที่สามารถบินรอบโลกได้โดยไม่ต้องเติมน้ำมันมาแล้ว โดยมีนายพอล อัลเลน มหาเศรษฐีที่เคยเป็นพลเรือนคนแรกที่ขึ้นสู่อวกาศด้วยยานอวกาศของรัสเซีย ร่วมกับบริษัทไมโครซอฟท์ เป็นผู้ให้ทุนสนับสนุนกว่า 20 ล้านดอลล่าร์สหรัฐในการออกแบบยานสเปซ ชิปวัน
การก้าวสู่การแข่งขันชิงรางวัล X Prize
(แปลโดยทีมงาน ThaiSpaceWeather) นาย ปีเตอร์ ไดอมานดิส (Perter Diamandis) หนึ่งในผู้ก่อตั้งรางวัล X Prize ด้วยเงินรางวัลถึง 10 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีวัตถุประสงค์ในการกระตุ้นภาคเอกชนให้ขึ้นไปในอวกาศ ยังกล่าวต่อไปว่า วิสัยทัศน์ของ Rutan จะเปิดโอกาสให้กับคนอื่นที่มีความฝันเช่นเดียวกับเขา ในการขึ้นสู่อวกาศโดยไม่ต้องพึ่งพาเงินภาษีประชาชนหรือการควบคุมของรัฐบาล เพียงใช้ความชาญฉลาดและการร่วมแรงร่วมทุนของบุคคลธรรมดา
ความสำเร็จของ SpaceShipOne ในครั้งนี้ เป็นการอุ่นเครื่องสำหรับ Ansari X Prize และ เป็นประวัติศาสตร์ของชาวอเมริกัน เขากล่าว เคยได้ยิน [คนล้อเล่น] ว่า ถ้าพระเจ้าต้องการให้พวกเราบินไปในอวกาศ ท่านจะให้เงินแก่พวกเราอย่างมหาศาล แต่เขาหวังว่า เทคโนโลยีที่พิสูจน์ให้เห็นในวันนี้จะนำไปสู่การออกแบบที่ถูกและง่ายยิ่งขึ้น บริษัท Scaled Composites ซึ่งเป็นบริษัทที่สร้างยาน SpaceShipOne เป็นเพียง 1 ใน 24 บริษัทจากหลายประเทศ ที่เข้าแข่งขันชิงรางวัล X Prize โดยมีเงื่อนไขว่า ผู้ชิงรางวัลต้องเป็นกลุ่มคนที่ใช้เงินทุนเอกชนในการส่งสามคนขึ้นไปในอวกาศ ด้วยระดับความสูงเกิน 100 km และต้องทำซ้ำภายในเวลา 2 สัปดาห์โดยใช้ยานอวกาศลำเดิม |
Rutan กล่าวว่า ยานอวกาศ SpaceShipOne จะเข้าทำการแข่งขันชิงรางวัล X Prize หลังจากแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในครั้งนี้
มูลนิธิ X Prize ซึ่งไม่หวังผลกำไร เป็นผู้สนับสนุนการแข่งขันเพื่อส่งเสริมให้มีการใช้ต้นทุนที่ต่ำในการพัฒนา ยานอวกาศที่มีประสิทธิภาพในการเดินทางท่องเที่ยวในอวกาศ โดยมีระยะเวลาการแข่นขันจนถึงวันที่ 1 มกราคม 2005
ที่มา : http://news.itv.co.th/news_detail.asp?id=28414
http://www.cnn.com/2004/TECH/space/06/21/suborbital.test/index.html
[home] [about us] [staff members] [alumni] [news] [articles & presentations] [research papers] [Princess Sirindhorn neutron monitor] [FAQs] [glossary] [links] [contact us] [academic activities]