ข่าวด้านอวกาศ และดาราศาสตร์

 

เดือนกรกฎาคม 49

 

สำรวจดาวอังคาร ณ หลุมอุกกาบาตที่เคยมีน้ำ ( ตอนที่ 2)

Exploring Mars:A Crater Where Water Ran

July 13 th, 2006

ที่มาwww.space.com

สำหรับแผนงานของ MSL นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาบริเวณขอบหลุม โดยหวังว่าจะปล่อย MSL ลงบริเวณที่ราบลาดเอียง ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของชั้นตะกอนดิน หลังจากลงจอดแล้ว MSL จะเดินทางไปสำรวจยังชั้นตะกอน

ขั้นตอนของการเลือกจุดลงจอด ต้องมั่นใจว่าจุดลงจอดมีความกว้างและราบพอหรือไม่ ไม่มีก้อนหินหรือฝุ่นมากเกินไป และต้องไม่ไกลจากจุดสำรวจมากนัก อย่างไรก็ดีจุดลงจอดก็มีความน่าสนใจเช่นกันเนื่องจากมันเป็นมีหินที่แตกหักออกมาจากปากหลุมอุกกาบาตด้วย แม้ว่าจะชันและขรุขระสำหรับรถสำรวจใดๆ แต่การศึกษาหินบริเวณดังกล่าวจะช่วยบอกได้ว่าจะมีน้ำปริมาณเท่าใดที่พาหินดินเหล่านั้นมา

พลังงานไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า nuclear-isotope generator จะช่วยให้ MSL สามารถเดินทางได้ไกลถึง 20 กิโลเมตร หรือไกลกว่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับ Opportunity กับ Spirit ที่แรกเริ่มพวกมันถูกออกแบบให้เดินทางได้เพียง 600 เมตร แต่ในการปฏิบัติงานจริง พวกมันเดินทางได้ถึง 8 กิโลเมตร

อุปกรณ์ที่ติดตั้งบน Mars Science Laboratory (MSL) ซึ่งรวมทั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ขนาดเล็กอีกด้วย

Credit: http://www.nuclearspace.com/a_ 2009 _Rover.htm

 

ภายในหลุมอุกกาบาต Eberswalde ทางเหนือของ Holden แม้จะพบจุดที่น่าสำรวจแต่ความเสี่ยงในการลงจอดเป็นสี่งที่ต้องคำนึงไว้ด้วย Elberswale มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 65 กิโลเมตร และเก่าแก่กว่า Holden ดังนั้นจึงเชื่อว่าอาจมีเศษซากจากหลุมอุกกาบาต Holden กระจายทั่วไปใน Eberswalde การไปที่ Eberswald อาจได้ข้อมูลของหลุมอุกกาบาตสองหลุมจากหลุมอุกกาบาตเพียงหลุมเดียว ไม่เพียงเศษซากจาก Holden ใน Eberswalde ที่นักวิทยาศาสตร์สนใจ หากแต่ร่อยรอยคล้ายสามเหลี่ยมปากแม่น้ำภายใน Eberswald เป็นประเด็นหลัก สามเหลี่ยมปากแม่น้ำดังกล่าวปรากฏเป็นชั้นตะกอน ใกล้เคียงกับแม่น้ำบนโลกเมื่อปากแม่น้ำกว้างเปิดออกสู่แหล่งน้ำขนาดใหญ่ อย่างเช่นแม่น้ำมิสซิสสิบปี

 

ตะกอนรูปใบพัดทางด้านตะวันตกของ Eberswalde Crater ต่ำลงไปคือ Holden Crater( ไม่ปรากฏในภาพ )

Credit: NASA/JPL/Malin Space Science Systems

 

สำหรับการลงสู่พื้นของ MSL ณ บริเวณเป้าหมายดูเหมือนว่าจะไม่มีที่ราบวงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 กิโลเมตร และราบเรียบพอสำหรับการลงจอด หรือในระยะที่รถสำรวจเดินทางได้

ที่ใจกลางหลุม Holden มีเนินเขาเล็กๆ อยู่ โดยยอดเขาตรงกลางเป็นร่อยรอยโดยธรรมชาติของหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่กว่า 12 กิโลเมตร อยู่แล้ว ตัวยอดเขาประกอบขึ้นจากหินที่อยู่ลึกลงไปแล้วถูกฉุดขึ้นมาโดยแรงตกกระทบ รอบๆ ยอดเขาเป็นดินทรายที่ถูกชะออกจากยอดเขาลงไปกองไว้ที่ฐาน ดังนั้นมันจึงมีความลาดเอียงไม่มากเหมาะสำหรับรถสำรวจลงสู่พื้น แต่ที่นั่นกลับมีหินกระจายอยู่เต็มไปหมด

แสดงความสูงของภูมิประเทศบริเวณหลุมอุกกาบาต Holden ซึ่งต่อกับ Uzboi Vallis ทางตะวันตกเฉียงใต้ และหลุมอุกกาบาต Eberswalde ทางทิศเหนือ ยาน MArs Express HRSC ถ่ายภาพนี้จากบริเวณ Noachis Terra Credits: ESA/DLR/FU Berlin (G. Neukum)

 

MSL สามารถเคลื่อนผ่านหินขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณหนึ่งเมตรได้ แต่ถ้าใหญ่กว่านั้น MSL ต้องเลี้ยวหลบไป แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาใหญ่เมื่อบริเวณยอดกลาง เป็นทะเลทรายละเอียด นั่นหมายความหว่าหากไม่มีมอเตอร์ขับเคลื่อนล้อกำลังสูง MSL ก็จะติดกับดักอยู่ในทะลทรายนั้น

 

 

แปลโดย : วัชราวุฒิ หน่อแก้ว ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

######################

 

 

สำรวจดาวอังคาร ณ หลุมอุกกาบาตที่เคยมีน้ำ ( ตอนที่ 1)

Exploring Mars:A Crater Where Water Ran

July 13 th, 2006

ที่มาwww.space.com

เมื่อต้นปี 2547 ภารกิจบนดาวอังคารของนาซาคือการติดตามร่องรอยของน้ำ งานนี้ถูกมอบหมายให้รถสำรวจดาวอังคาร Opportunity ซึ่งบัดนี้อ ยู่บริเวณ Meridiani Plunum และพบพื้นที่ซึ่งเต็มไปด้วยหินทรายนุ่ม ซึ่งอาจเกิดจากการพัดพาของน้ำเมื่อนานมาแล้ว

รถสำรวจดาวอังคารคันใหม่ Mars Science Laboratory (MSL) มีกำหนดส่งขึ้นสู่อวกาศในปี 2552 เพื่อวิเคราะห์ดาวอังคารให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนกำหนดจุดลงสูพื้นที่คาดว่าจะมีร่อยรอยน้ำบนดาวอังคาร นอกเหนือจาก Mereidiani Plunum ที่ Opportunity กำลังสำรวจอยู่

 

หลุมอุกกาบาต Holden เต็มไปด้วยชั้นตะกอนดิน ทางน้ำซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีน้ำไหลในบริเวณ

ดังกล่าวเมื่อนานมาแล้ว

Credit:NASA/JPL/Arizona State University

 

ประมาณ 2,100 กิโลเมตร ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ของ Meridiani มีหลุมอุกกาบาต Holden ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 154 กิโลเมตร ภายในหลุมและพื้นที่โดยรอบ มีสองจุดที่คาดว่า MSL จะสามารถสำรวจหาร่องรอยของแนวธารน้ำได้

หลุมอุกกาบาต Holden มีพื้นหลุมกว้างขวางเต็มไปด้วยชั้นตะกอน ทางน้ำไหล และตะกอนที่ถูกพัดพามาจากแนวหุบเขา ซึ่งบ่งบอกว่าเคยมีระบบทางน้ำไหลภายในบริเวณดังกล่าวเมื่อนานมาแล้ว เช่นเดียวกับหลุมอุกกาบาต Eberswalde ทางทิศเหนือของ Holden นักวิทยาศาสตร์พบว่ามีร่องรอยคล้ายสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ( river delta ) ภายในหลุมดังกล่าวเช่นกัน

 

ร่อยรอยบนพื้นคล้ายกับตะกอนน้ำพัดพา ณ บริเวณปากแม่น้ำขนาดใหญ่บนโลก

แต่ร่อยรอยนี้อยู่ภายในหลุมอุกกาบาต Eberswalde บนดาวอังคาร

เชื่อได้ว่านี่เป็นหนักฐานการมีอยู่ของน้ำบนดาวอังคาร

Credit: NASA/JPL/Malin Space Science Systems

 

ด้วยภาพถ่ายการแผ่รังสีความร้อนจาก Thermal Emission Imaging System (THEMIS) กล้องถ่ายภาพซึ่งติดตั้งบนยาน Mars Odyssey orbiter ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ได้ภาพพื้นผิวดาวดังกล่าว พวกเขาพบว่าบริเวณที่เป็นหินและวัตถุแข็งจะมีสีแดง ส่วนพื้นที่ซึ่งเต็มไปด้วยทราย และฝุ่นละเอียด ปรากฏสีน้ำเงิน ส่วนพื้นที่ที่มีหินดินเหล่านี้ผสมกันแสดงด้วยสีเหลืองและเขียว

 

น้ำไหลออกจาก Uzboi Vallis ( กลาง ) ไปสู่หลุมอุกกาบาต Holden ทางด้านใต้

กระแสน้ำพาตะกอนเข้ามายัง Holden จุดลงจอดที่เป็นไปได้ของรถสำรวจ Mars Science Laboratory

คือที่ราบบริเวณกลางขวาของภาพ ซึ่งใกล้กับทางน้ำ

Credit: NASA/JPL/Arizona State University, R. Luk

 

 

ที่หลุม Holden มีความหลากหลายของดินที่ผิว เช่นเดียวกับ ระบบทางน้ำไหลซึ่งยาวที่สุดผิวดาวอังคาร Uzboi-Ladon-Margaritifer ซึ่งเป็นแนวหุบเขาทอดยาวจากที่ราบสูง Argyre ทางซีกใต้ ระยะทางนับพันกิโลเมตรขึ้นไปทางเหนือจนถึง Chryse Planitia หุบเขา Uzboi Vallis ทอดยาวและเชื่อมกับของ Holden ด้วยรอยแตกทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นทางน้ำไหลเชื่อมหลุมกับหุบเขาใหญ่พร้อมทั้งพบตะกอนดิน สะสมเป็นชั้นๆ นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่าหลังจากอุกกาบาตตกลงมาจนเกิดหลุมอุกกาบาต Holden น้ำจะไหลจาก Uzboi ทางขอบแล้วเอ่อล้นเข้าไปในหลุม ทำให้เกิดตะกอนดินที่ก้นหลุม

 

แปลโดย : วัชราวุฒิ หน่อแก้ว ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

######################

 

 

สมาพันธ์ดาราศาสตร์อนุมัติชื่อให้บริวารใหม่ของพลูโต

Pluto's Newest Moons Named Hydra and Nix

July 6 th, 2006

ที่มาwww.space.com

สหพันธ์ดาราศาสตร์นานาชาติ ( The International Astronomical Union :IAU) ประกาศชื่อดวงจันทร์บริวารดวงใหม่ทั้งสองของดาวพลูโตอย่างเป็นทางการ โดยให้ชื่อว่า Nix และ Hydra

ดวงจันทร์ขนาดเล็กทั้งสองถูกค้นพบโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล เมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว เชื่อกันว่าพวกมันกำเนิดมาในช่วงเวลาเดียวกับ ดวงจันทร์ Charon ซึ่งเป็นบริวารที่มนุษย์ค้นพบเป็นดวงแรกเมื่อปี 2521

ชื่อดังกล่าวได้รับการเสนอเมื่อฤดูใบไม้ผลิปีนี้ โดยทีมวิจัยผู้ค้นพบ แต่ก่อนที่จะได้รับอนุมัติชื่อนี้พวกมันถูกเรียกว่า P1 และ P2

 

เมื่อ เปิด หน้ากล้องรับแสงไม่นานจะรับแสงจากพลูโตและชารอน ( ซ้าย ) แต่เมื่อเปิดหน้ากล้องนานขึ้นก็จะ

ปรากฏแสงจากดวงจันทร์อีกสองดวง ส่วนแสงดาวพลูโตกับชารอนก็จ้ามากขึ้น ( กลาง ) ( ขวา ) ซึ่งแสดงว่าดวงจันทร์

ทั้งสองอาจมีขนาดเล็กหรืออยู่ไกลออกไป และจากการติดตามถ่ายภาพไปเรื่อยๆ พบว่าเทหวัตถุทั้งสองโคจรรอบดาวพลูโต

Credit: NASA, ESA, H. Weaver (JHU/APL), A. Stern (SwRI), and the Hubble Space Telescope Pluto Companion

Search Team

 

 

ในเทพนิยายกรีก Nyx คือเทพีแห่งรัตติกาล และเป็นมารดาของ Charon Charon เป็นคนแจวเรือเพื่อพาดวงวิญญาณคนตายข้ามแม่น้ำ Styx ไปสู่แดนบาดาล(หรือยมโลก) ที่ปกครองโดย Pluto (Hades) สมาพันธ์ดาราศาสตร์นานาชาติเปลี่ยนตัวสะกดจาก Nyx ให้เป็น Nix ตามภาษาอียิปต์ที่ใช้เรียกเทพีองค์เดียวกัน เพื่อหลีกเลี่ยงกับดาวเคราะห์น้อยสองดวงที่ใช้ชื่อว่า Nyx ไปแล้วก่อนหน้านี้

 

ภาพวาดเทพีแห่งรัตติกาล Nyx ของ จิตรกร Brygos สร้างสรรไว้เมื่อ 490 ปีก่อนคริสตกาล ปัจจุบันอยู่ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมณี

Credit:http://www.mlahanas.de/Greeks/Mythology/Nyx.html


 

 

ส่วนดวงจันทร์อีกดวงที่โคจรห่างออกไปอีก ได้ชื่อว่า Hydra อสรพิษเก้าหัว ในเทพนิยายกรีก Hydra ทำหน้าที่พิทักษ์เขตแดนยมโลกของพลูโต “ เราคิดว่ามันเป็นภาพพจน์อันน่ากลัว เหมาะที่จะเป็นผู้พิทักษ์ประตูจริงๆ ” Alan Stern นักดาราศาสตร์จากสถาบันวิจัยภาคตะวันตกเฉียงใต้ หัวหน้าทีมวิจัยซึ่งค้นพบดวงจันทร์ทั้งสองให้เหตุผลในการเลือกชื่อดวงจันทร์  

 

ภาพวาดไฮดราบนแจกันกรีกโบราณ

Credit: http://www.utexas.edu/courses/larrymyth/images/hercules 1/ MA-herc-hydra.jpg

 

นอกจากนี้ชื่อของพวกมันจะเกี่ยวข้องกับเทพ Pluto แล้ว ยังเป็นเพราะตัวอักษรแรก N กับ H เป็นตัวอักษรแรกของ New Horizons ซึ่งเป็นยานอวกาศของนาซาที่ถูกส่งขึ้นไปสำรวจดาวพลูโตเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยกล้องฮับเบิลจำทำหน้าที่สนับสนุนภารกิจนี้ด้วยเมื่อยาน New Horizon เข้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์ใหม่

 

“ ตัวอักษร P และ L ใน Pluto ตั้งไว้เป็นเกียรติแด่ Percival Lowell ผู้กระตุ้นให้เกิดการค้นหาจนพบดาวพลูโต ” Stern กล่าว “ ตัวอักษร N กับ H ก็เช่นกันเราตั้งไว้เป็นเกียรติแด่โครงการ New Horizons ซึ่งจะพาเราไปสำรวจดวงจันทร์ทั้งสอง ”

 

ความตั้งใจแรกของ Stern และทีมงาน คิดว่าจะใช้ชื่อ Cerberus สุนัขสามหัวผู้ทำหน้าที่พิทักษ์ประตูนรก แต่ก็ต้องทิ้งชื่อนี้ไปเพราะหลายคนยังติดภาพพลูโตว่าเป็นตัวการ์ตูนของดิสนีย์ที่เป็นสุนัข และมีเทหวัตถุที่ได้ชื่อเป็นสุนัขเพียงดวงเดียวก็พอแล้ว  

 

แปลโดย : วัชราวุฒิ หน่อแก้ว ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

######################

 

   

สนามแม่เหล็กฉุดมวลสารลงหลุมดำ

Magnetic Fields Nudge Matter Into Black Holes

July 6 th, 2006

ที่มาwww.space.com

หลุมดำมีแรงโน้มถ่วงมหาศาลก็จริง แต่แรงโน้มถ่วงเพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ ที่จะส่งมวลสารลงสู่ศูนย์กลาง แต่ต้องอาศัยแรงแม่เหล็กร่วมด้วย งานวิจัยชิ้นใหม่รายงานสนับสนุนแนวคิดเมื่อปี 2516 ซึ่งอธิบายว่าสนามแม่เหล็กจะช่วยพามวลสารตกลงสู่หลุมดำ และปลดปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากกระบวนการดังกล่าว

แรงโน้มถ่วงของหลุมดำมากพอสำหรับการดึงสสารแล้วปล่อยให้มันหมุนรอบหลุมดำภายในแผ่นจานฝุ่น ( accretion disk) แต่ก่อนที่มันจะสูบเอามวลสารลงไป สสารเหล่านั้นจะต้องสูญเสียโมเมนตัมเชิงมุม หรืออัตราเร็วของการหมุนนั่นเอง

 

จำลองผลอิทธิพลของสนามแม่เหล็ก ( เส้นเกลียวทึบ ) ทำให้เกิดลมภายใน GRO J1655-40 ยังผลให้ accretion disk

สูญเสียโมเมนตัมและก๊าซตกลงสู่ใจกลางหลุมดำ (Illustration: NASA/CXC/M.Weiss)

 

“ หลายคนคุ้นเคยกับวลี วัตถุที่หยุดนิ่งก็จะอยู่นิ่งต่อไป วัตถุที่เคลื่อนที่ก็จะเคลื่อนที่ต่อไปเช่นเดิม ” Jon Miller นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแห่งมิชิแกน หนึ่งในกลุ่มวิจัยเริ่มต้นอธิบาย “ สิ่งเดียวกันนี้เป็นจริงกับวัตถุที่กำลังโคจรรอบอะไรบ้างอย่าง พวกมันมีแนวโน้มที่โคจรอย่างเสถียร จนกว่าจะถูกกระทำจากแรงภายนอก ”

 

ถ้าโมเมนตัมเชิงมุมจากแผ่นมวลสารไม่สูญหายไป ก๊าซภายในก็จะโคจรเป็นวงรอบหลุมดำไปตลอดกาลภายในวงโคจรที่มีเสถียรภาพ เหมือนกับดาวนพเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์

 

จากมุมมองของศิลปินแสดง GRO J1655-40 ระบบดาวคู่ ที่ประกอบด้วยหลุมดำและดาวฤกษ์สีน้ำเงิน

ก๊าซจากดาวฤกษ์ถูกสูบออกมาผ่านจุดลากรังจ์ที่หนึ่ง ลงสู่หลุมดำ

Credit: NASA/CXC/M.Weiss

 

ด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศรังสีเอกซ์ จันทรา นักวิจัยศึกษาระบบดาวคู่ GROJ1655-40 ซึ่งประกอบด้วยหลุมดำมวลเท่ากับดวงอาทิตย์เจ็ดดวง ที่กำลังสูบก๊าซจากผิวดาวคู่ของมัน โดยก๊าซที่ถูกขโมยดังกล่าวหมุนวนรอบหลุมดำเป็นแผ่นจานก๊าซ เนื่องจากก๊าซอยู่ในสถานะพลาสมา ซึ่งประกอบไปด้วยอนุภาคมีประจุ เมื่อประจุเคลื่อนนั่นคือเกิดกระแสไฟฟ้า แล้วกระแสไฟฟ้าดังกล่าวจึงสร้างสนามแม่เหล็กขึ้นมา นอกจากนี้สนามแม่เหล็กสามารถถ่ายทอดพลังงานหรือทำหน้าที่เป็น “ ลม ” พัดพาเอาอนุภาคมีประจุเหล่านั้นออกมาจากแผ่นจาน Accretion Disk กล้องจันทราตรวจพบการถ่ายเทโมเมนตัมเชิงมุมจากขอบในสู่ขอบนอก ทำให้ก๊าซในจานมวลสารเคลื่อนที่ช้าลงและถูกดูดลงไปในหลุมดำในที่สุด

สนามแม่เหล็กยังทำให้เกิดความปั่นป่วนและความเสียดทานภายในแผ่นจาน แรงเสียดทานจะทำให้ก๊าซร้อนขึ้นหลายล้านองศาแล้วเปล่งรังสีเอกซ์กับรังสีอัลตราไวโอเลตสุกสว่างออกมา

 

GRO J1655-40 (กรอบเล็กสีขาวดำ) ในกลุ่มดาวแมงป่อง Credit: Akira Fujii/Digitized Sky Survey

 

นักวิจัยเชื่อว่าสนามแม่เหล็กมีบทบาทสำคัญในกิจกรรมของหลุมดำทุกขนาด รวมทั้งดาวฤกษ์ที่มีแผ่นจานมวลสารที่ได้มาจากดาวฤกษ์อื่นในระบบเดียวกัน หรือแม้กระทั่งหลุมดำมวลมหายักษ์ที่เป็นแกนกลางของกาแลกซี

งานวิจัยนี้ยังสามารถนำไปอธิบายพฤติกรรมของเทหวัตถุอื่นๆ ที่มีแผ่นจานมวลสารเช่นเดียวกัน อย่างเช่นดาวนิวตรอนและดาวแคระขาว Miller เสริม “ เรารู้แล้วว่าแผ่นจานรอบดาวฤกษ์อายุน้อยถูกขับเคลื่อนด้วยกระบวนการทางแม่เหล็ก ซึ่งไม่น่าประหลาดใจนักถ้าแผ่นจานฝุ่นจะมีสมบัติเชิงแม่เหล็ก อย่างน้อยก็ส่วนหนึ่ง ” Miller ทิ้งท้าย

 

 

แปลโดย : วัชราวุฒิ หน่อแก้ว ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

######################

 

 

กระแสลมหมุนคู่ที่ดาวศุกร์

Venus' Double Vortex Confirmed in New Animation

July 4 th, 2006

ที่มาwww.space.com

กระแสลมในชั้นบรรยากาศขนาดยักษ์ “Double-eye” ได้รับการยืนยันว่าเกิดขึ้นจริงในขั้วใต้ของดาวศุกร์ ข้อมูลจากยาน Venus Express ขององค์การอวกาศยุโรป ( European Space Agency) ขณะโคจรรอบดาวเคราะห์ที่สุกสว่างอยู่ทุกรุ่งเช้าหรือยามเย็น

 

แผนผังการเดินทางจากโลกถึงดาวศุกร์รวมทั้งวงโคจรเกือบเข้าใกล้ขั้วของดาวศุกร์ โดย Venus Express

Credit: http://www.space.eads.net/press-center/press-releases/venus-express-ready-for-launch/paragraph_ 3 _image_large

 

เมื่อวันที่ 11 เมษายนที่ผ่านมา ยาน Venus Express เสร็จสิ้นการเดินทางจากโลกถึงดาวศุกร์และถูกดึงเข้าสู่วงโคจรวงรีวงแรกด้วยแรงโน้มถ่วงของดาวศุกร์ เรียกช่วงนี้ว่า capture-orbit โดยจะโคจรรอบดาวศุกร์เป็นเวลา 9 วัน

ตัวยานจะทำการสังเกตการณ์ในช่วงคลื่นรังสีอินฟราเรด แสงขาว (visible) และรังสีอัลตราไวโอเลต รอบๆชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์จากความสูงระยะต่างๆ ตั้งแต่ 350,000 ถึง 400,000 กิโลเมตร เหนือผิวดาว หนึ่งในผลงานที่น่าตื่นตะลึงคือ กระแสลมวนในชั้นบรรยากาศเหนือขั้วใต้ ซึ่งคล้ายกับกระแสลมหมุนวนที่ขั้วเหนือของดาวดวงเดียวกันซึ่งถูกพบแล้วก่อนหน้านี้

 

ภาพถ่ายอินฟราเรด จาก the Ultraviolet/Visible/Near-Infrared spectrometer (VIRTIS) บนยาน Venus Express

ระหว่างวันที่ 12 และ 19 เมษายนที่ผ่านมา

Credits: ESA/VIRTIS/INAF-IASF/Obs. de Paris-LESIA

 

ก่อนหน้านี้ ภาพถ่ายลมหมุนที่ขั้วใต้ถูกบันทึกไว้ไม่มาก ส่วนภาพชุดใหม่นี้มีจำนวนมากพอที่จะนำมารวมกันเป็นภาพเคลื่อนไหวเพื่อให้นักวิจัยศึกษาวิจัยปรากฏการณ์ดังกล่าวได้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น

นักวิทยาศาสตร์คิดว่ากระแสลมหมุนเกิดจากการรวมตัวของอากาศร้อนในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ กับกระแสลมพัดซึ่งไปทางทิศตะวันตกด้วยความเร็วสูง กระแสลมพาอากาศร้อนเคลื่อนเป็นวงกลมครบรอบดาวศุกร์ภายในเวลาเพียงสี่วัน แม้คำอธิบายจะยังไม่แน่ชัดก็ตาม นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังไม่อาจอธิบายได้ว่าเหตุใดจึงมีกระแสลมหมุนที่ขั้วทั้งสอง

 

 

ภาพถ่ายจากขั้วดาวศุกร์ ด้านกลางวัน ( สีฟ้า ) ถ่ายในช่วงแสงที่ตามมนุษย์มองเห็น ส่วนด้านกลางคืน ( สีแดง )

ถ่ายในช่วงรังสีอินฟราเรด ด้านกลางวันแสดงรังสีจากดวงอาทิตย์ถูกสะท้อนออกโดยชั้นบรรยากาศ

ส่วนด้านกลางคืนเผยโครงสร้างเมฆอันซับซ้อน ที่แผ่ความร้อนออกมาจากชั้นบรรยากาศความลึกต่างๆ กัน

Credits: ESA/VIRTIS/INAF-IASF/Obs. de Paris-LESIA

 

 

“ เรายังเข้าใจน้อยมากเกี่ยวกับกลไกการเกิด Super-rotation กับกระแสลมหมุนที่ขั้ว ว่าเกี่ยวข้องกันได้อย่างไร ” Hakan Svedhem นักวิทยาศาสตร์ประจำโครงการ Venus Express กล่าว “ อย่างไรก็ตาม ปฏิบัติการนี้ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นและคาดว่าเราคงได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น เราคาดว่าสิ่งนี้รวมถึงความลึกลับอื่นๆ ของดาวศุกร์จะต้องได้รับการบันทึกและไขปริศนาด้วยยาน Venus Express”

 

ยานอวกาศ Venus Express ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศในเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2548 โดยยาน Soyuz-Fregat โดยมีเป้าหมายที่วงโคจร quasi-polar รอบขั้วดาวศุกร์ด้วยคาบ 24 ชั่วโมง เป็นเวลา 500 วัน

 

 

แปลโดย : วัชราวุฒิ หน่อแก้ว ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

######################

 

 

 

 

 

home] [about us] [staff members] [alumni] [news] [articles& presentations] [research papers] [Princess Sirindhorn neutron monitor] [FAQs]

[glossary] [links] [contact us] [academic activities]