ข่าวด้านอวกาศ และดาราศาสตร์

 เดือนมกราคม 2548  

 

พายุสุริยะใหม่และอนุภาคพลังงานสูงจำนวนมาก

New Solar Flares and Intense Solar Energetic Particles

 January 20, 2005

        สืบเนื่องจากข่าวของวันที่ 17 ม.ค. มีกลุ่มจุดมืดบนดวงอาทิตย์ (ที่บริเวณ Active Region 10720) ซึ่งยังก่อให้เกิดพายุสุริยะใหม่ ได้แก่การปะทุ (solar flares) และการปล่อยก้อนมวลจากโคโรนา (coronal mass ejection หรือ CME) ดังต่อไปนี้

        วันที่ 19 ม.ค. เวลา 07:31 UT มี X-ray flare ระดับ M6.7

วันที่ 19 ม.ค. เวลา 08:22 UT มี X-ray flare ระดับ X1.4 และมี CME ซึ่งไม่ได้มายังโลกโดยตรง แต่ในท้องฟ้าเห็นว่า CME เอียงไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ จึงคงจะไม่ค่อยมีผลกระทบมากนัก

วันที่ 20 ม.ค. เวลา 07:00 UT (หรือเวลา 14.00 น. ในประเทศไทย) มี X-ray flare ระดับ X7.0 ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้ในยุคอวกาศ และน่าจะมี CME ที่ออกไปในทางทิศตะวันตกและไม่กระทบโลกโดยตรง แต่อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์นี้ได้ปล่อยอนุภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์ (solar energetic particles หรือ SEP) ในระดับที่สูงมาก จนกระทั่งสามารถวัดได้ด้วยเครื่องตรวจวัดนิวตรอน (ดูข้อมูล real-time คลิกที่นี่)

บัดนี้ ยังมีอนุภาคพลังงานสูง (SEP) จำนวนมากในอวกาศใกล้โลก จนอาจส่งผลกระทบต่อดาวเทียม อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์นี้ถือว่าน่าสนใจมากทางวิทยาศาสตร์ และทีมงาน ThaiSpaceWeather อาจมีโอกาสร่วมมือกับเจ้าของข้อมูลในต่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล SEP โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เราพัฒนามาแล้วในประเทศไทย (มีตัวอย่างผลงานในอดีต ปี 2545, 2547 และ 2548)

 

                             ......................................................................................................

พายุสุริยะที่รุนแรง

Strong Solar Storm

 

January 18, 2005

                    เมื่อเร็ว ๆ นี้ ทั้ง ๆ ที่วัฏจักรของดวงอาทิตย์กำลังจะหมดแล้ว แต่ได้มีกลุ่มจุดมืดบนดวงอาทิตย์ (ที่บริเวณ Active Region 10720) ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว และดวงอาทิตย์ได้มีการปะทุ (solar flares) และการปล่อยก้อนมวลจากโคโรนา (coronal mass ejection หรือ CME) ดังต่อไปนี้

                     [ระดับของ X-ray flare เรียงลำดับตามความสว่าง ตามตัวอักษร ดังนี้: X > M > C > B โดย “X” แสดงว่าเป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงมาก  ส่วนเวลา Universal Time (UT) เป็นเวลามาตรฐานของฟิสิกส์อวกาศ และเวลาในประเทศไทยเท่ากับเวลา UT + 7 ช.ม.]

                     วันที่ 15 ม.ค. เวลา 00:43 UT มี X-ray flare ระดับ X1.2 แต่ไม่มี CME

            วันที่ 15 ม.ค. เวลา 04:31 UT มี X-ray flare ระดับ M8.4 แต่ไม่มี CME

            วันที่ 15 ม.ค. เวลา 06:38 UT มี X-ray flare ระดับ M8.6 และมี CME ที่มีความเร็วสูง และปล่อยอนุภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์ (solar energetic particles หรือ SEP) ในระดับปานกลาง ส่วนคลื่นกระแทกของ CME นั้นมาถึงโลกเมื่อประมาณ 07:00 UT ในวันที่ 17 ม.ค.

            วันที่ 15 ม.ค. เวลา 23:02 UT มี X-ray flare ระดับ X2.6 และมี CME ที่มีความเร็วสูง และปล่อย SEPในระดับสูงมาก จนมีผลกระทบต่อกิจกรรมของมนุษย์

            วันที่ 17 ม.ค. เวลา 09:52 UT มี X-ray flare ระดับ X3.8 และมี CME ที่มีความเร็วยิ่งสูงกว่าสองครั้งก่อนหน้านี้ และคาดว่าจะมีผลกระทบอย่างแรง (severe geomagnetic storm)

            บัดนี้ จำนวนอนุภาคพลังงานสูงอยู่ในระดับ category S3 storm (ระดับที่รุนแรง) จนกระทบการสื่อสารทางคลื่นวิทยุในบริเวณ latitude สูงของโลก และผู้ที่โดยสารเครื่องบินอาจได้รับรังสีพอๆ กับเครื่องถ่าย X-ray ของแพทย์ นอกจากนั้น อาจยังมีผลกระทบต่อดาวเทียมด้วย

[home] [about us] [staff members] [alumni] [news] [articles & presentations] [research papers] [Princess Sirindhorn neutron monitor] [FAQs] [glossary] [links] [contact us] [academic activities]