ปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านดวงอาทิตย์ วันที่ 6 มิ.ย. 2555
Venus Transit on June 06, 2012
ในเช้าวันที่ 6 มิ.ย. นี้
คนไทยจะมีโอกาสพิเศษที่จะชมปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์
ถ้าพลาดครั้งนี้จะไม่มีให้เห็นจากโลกจนวันที่ 11 ธ.ค. ปี พ.ศ. 2660
ซึ่งเป็นอีก 105 ปีข้างหน้า ดังนั้น วันที่ 6 มิ.ย. นี้
คงเป็นโอกาสสุดท้ายที่พวกเราจะดูปรากฏการณ์นี้ได้
เราไม่ควรมองดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่าเพราะอาจทำให้ตาบอดได้
แต่ปรากฏการณ์นี้ดูไม่ยาก เพียงใช้กล้องส่องทางไกล เลนส์ กระจกเว้า
หรือแม้แต่รูเข็ม เพื่อฉายภาพของดวงอาทิตย์บนกระดาษหรือกระดานขาว
แล้วจะเห็นดาวศุกร์เป็นวงกลมสีดำที่ค่อยๆ ข้ามหน้าดวงอาทิตย์
เรามาทำความรู้จักกับดาวศุกร์สักนิด
1. ดาวศุกร์เกี่ยวข้องกับระบบสุริยะ และโลกของเราอย่างไรบ้าง
ในประวัติศาสตร์ การติดตามปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์
สำคัญเพราะเป็นวิธีแรกที่นักดาราศาสตร์สามารถวัดขนาดระบบสุริยะได้
ท่านแรกที่พยากรณ์เหตุการณ์นี้ได้ ในปี ค.ศ. 1627 คือ โยฮานเนส เคปเลอร์
นักดาราศาสตร์ชื่อดังที่ค้นพบกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ ต่อไป
เจเรไมอาห์ ฮอร์รอกส์ ปรับแก้ความผิดพลาดเล็กน้อยของเคปเลอร์
แล้วเป็นท่านแรกที่สังเกตปรากฏการณ์นี้ ในปี ค.ศ. 1639 ต่อไป ในปี ค.ศ.
1678 เอดมันด์ แฮลลีย์ (ซึ่งมีชื่อเสียงสำหรับดาวหางแฮลลีย์)
เสนอว่าการสังเกตปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์จากละติจูดต่างๆ
บนโลก จะให้ข้อมูลสำคัญในการวัดระยะทางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์อย่างแม่นยำ
โดยใช้หลักการของพาราแล็กซ์ (parallax)
ซึ่งเสมือนการมองด้วยตาซ้ายอย่างเดียว หรือตาขวาอย่างเดียว
แล้วเห็นวัตถุในฉากหน้าเคลื่อนที่เทียบกับฉากหลัง เพราะรองมองด้วยคนละมุม
ในลักษณะเดียวกัน การมองดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ที่ละติจูดต่างๆ บนโลก
เป็นการเปลี่ยนมุมมอง
แล้วจากการเปลี่ยนตำแหน่งของดาวศุกร์ข้างหน้าดวงอาทิตย์
เราสามารถคำนวณระยะทางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ได้ ดังนั้น
ปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์มีความสำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์
ทางดาราศาสตร์
จากข้อเสนอของแฮลลีย์ในปี ค.ศ. 1678 นักดาราศาสตร์ต้องรอจนปี ค.ศ. 1761
และ 1769 กว่าดาวศุกร์จะผ่านหน้าดวงอาทิตย์อีกครั้ง
โดยนักดาราศาสตร์หลายท่านเดินทางไปทั่วโลกเพื่อสังเกตสองเหตุการณ์นั้น
ซึ่งทำให้มีการวัดระยะทางสู่ดวงอาทิตย์ โดยมีความคลาดเคลื่อนเพียงร้อยละสอง
นอกจากนี้ การสังเกตปรากฏการณ์นี้ทำให้ค้นพบว่าดาวศุกร์มีบรรยากาศด้วย
ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์มีอีกหลายวิธีที่วัดระยะทางนี้ ซึ่งวัดเป็น
149.6 ล้านกิโลเมตร
ดังนั้นในปัจจุบันปรากฏการณ์นี้ไม่ค่อยสำคัญทางวิทยาศาสตร์
แต่เป็นเรื่องสนุกที่พวกเราได้เห็นเหตุการณ์นี้
โดยเฉพาะเนื่องจากเหตุการณ์นี้เกิดไม่บ่อยนัก
ปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์จะเกิดทีละสองครั้งที่ห่างกันเพียง 8
ปี เช่น ที่เกิดเมื่อปี 8 มิ.ย. ปี พ.ศ. 2547 และวันที่ 6 มิ.ย. ปีนี้
แต่ต่อจากนั้นต้องรออีก 105 ปี โดยปีที่เกิดปรากฏการณ์รวมถึง ปี พ.ศ. 2417,
2425, 2547, 2555, 2660, 2668, ฯลฯ
2. การโคจรของดาวศุกร์ ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตอย่างไร
ไม่มี
3. ดวงดาวต่างๆ ที่โคจรมาใกล้โลกหรือดวงอาทิตย์ เป็นปรากฎการณ์ตามธรรมชาติ ไม่เกี่ยวข้องกับการอยู่หรือดับไปของดวงดาวใช่หรือไม่
ใช่ แต่ในอนาคตอันไกล อีก 5 พันล้านปีเป็นอย่างน้อย
ดวงอาทิตย์ของเราจะเปลี่ยนสภาพเป็นดาวยักษ์แดง
ซึ่งจะขยายจนเกือบถึงระยะทางของโลก
แต่มีแนวโน้มว่าทั้งดาวศุกร์และโลกจะรอดตัว
เพราะในขณะเดียวกับที่ดวงอาทิตย์ขยายตัว
วงโคจรของดาวศุกร์และโลกจะขยายตัวทั้งคู่ และไม่โดนดวงอาทิตย์กลืนไป
อย่างไรก็ตาม ในขณะนั้นดวงอาทิตย์จะสว่างมากและโลกจะไม่น่าอยู่แล้ว
แต่เราไม่ต้องกังวลมากเพราะเป็นเรื่องที่จะเกิด 5 ล้านกว่าปีในอนาคต
ดาวศุกร์ที่เราจะเห็นในวันที่ 6 มิ.ย. นี้จะเป็นวงกลมสีดำ
เพราะว่าบังแสงอาทิตย์ แต่หากเรามองดาวศุกร์หลังดวงอาทิตย์เพิ่งตก
(หรือก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น อย่างใดอย่างหนึ่ง)
ดาวศุกร์มักจะเป็นดาวที่สว่างที่สุดในท้องฟ้า
(นอกจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์)
|
|
ดาวศุกร์ในแสงธรรมดา (เห็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์) |
จากที่ดาวเคราะห์เรียงกัน พุธ ศุกร์ โลก อังคาร ... รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ http://www.thaispaceweather.com/IHY/
ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่ใกล้โลกมากที่สุด คือขนาดใกล้เคียงกัน
(เส้นผ่านศูนย์กลางของดาวศุกร์เท่ากับ 12,100 กม.,
เส้นผ่านศูนย์กลางของโลกเท่ากับ 12,700 กม.) และตำแหน่งห่างกันไม่มาก
(ดาวศุกร์ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 108 ล้านกิโลเมตร)
แต่โลกห่างกว่าดาวศุกร์นิดหนึ่ง (โลกห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 150
ล้านกิโลเมตร) จึงเย็นกว่า มีน้ำเหลว และมีชีวิตเกิดขึ้น
ซึ่งเปลี่ยนบรรยากาศโลกจนภาวะเรือนกระจกน้อยลงและโลกกลายเป็น "สวรรค์"
ที่เย็นสบาย แต่ดาวศุกร์ยังเป็น "นรก" ที่มีภาวะเรือนกระจกอย่างแรง
อุณหภูมิพื้นผิวถึง 470 ํC
การผ่านหน้าดวงอาทิตย์ เกิดขึ้นเฉพาะกับดาวเคราะห์ที่อยู่
ระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก คือดาวพุธและศุกร์ แต่ในสามมิติ
การเรียงกันของดาวเคราะห์ (เช่น ดวงอาทิตย์-ดาวศุกร์-โลก) เกิดขึ้นได้ยาก
เพราะระนาบการโคจรของดาวศุกร์และโลกไม่ตรงกัน
จะเรียงกันได้เฉพาะตรงที่ระนาบตัดกันเป็นเส้น
และต้องให้ทั้งดาวศุกร์และโลกโคจรตรงกับเส้นนั้นพร้อมกัน
ดาวพุธอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์
เราจึงเห็นดาวพุธผ่านใบหน้าของดวงอาทิตย์ได้ง่ายกว่า (เกิดขึ้นในปี พ.ศ.
2542, 2546, 2549, 2559, 2562 เป็นต้น)
|
|
ภาพดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ครั้งที่แล้ว (8 มิ.ย. 2547)
|
|