เดือนกันยายน
2551
September
2008
ลมสุริยะอ่อนแรง
September 25th,
2008
Adapted from
Space.com: Sun's Wind is Lowest Ever Recorded
กระแสอนุภาคมีประจุที่ไหลอย่างต่อเนื่องออกมาจากดวงอาทิตย์ซึ่งเรียกว่าลมสุริยะ(solar
wind) ขณะนี้กำลังอยู่ในระดับอัตราเร็วต่ำสุดในรอบ 50 ปี
เท่าที่เคยบันทึกโดยยานอวกาศ
ปัจจุบันจำนวนจุดมืด(sun spot)
ที่ปรากฏบนผิวดวงอาทิตย์น้อยลง พร้อมๆ
กับที่ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสนามแม่เหล็ก เช่น การลุกจ้า(flare)
การปลดปล่อยมวลโคโรนา(Coronal Mass Ejection) เป็นต้น
ซึ่งส่งผลกระทบต่อสนามแม่เหล็กโลกและดาวเคราะห์อื่นๆ ในระบบสุริยะ
ภาพจำลองแสดง
heliosphere
รูปร่างคล้ายฟองอากาศซึ่งป้องกันระบบสุริยะจากรังสีคอสมิคจากกาแลกซี(galactic
cosmic rays) Credit: NASA/Goddard Space Flight Center Conceptual Image
Lab
ลมสุริยะปกติจะวิ่งออกมาจากดวงอาทิตย์ด้วยอัตราเร็วประมาณ
1.6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
สามารถกวาดกลบการแผ่รังสีและชนกับรังสีคอสมิค(cosmic ray)
จากนอกระบบสุริยะออกไป
จนเกิดอาณาเขตอิทธิพลของสนามแม่เหล็กเป็นรูปทรงคล้ายฟองน้ำที่เรียกกว่า
heliosphere
สำหรับยานอวกาศยูลิซิส(Ulysses)
ซึ่งปฏิบัติภารกิจสังเกตการณ์ลมสุริยะมานานนับ 17 ปี
ได้พบกับลมสุริยะที่รุนแรงและเชื่องช้าในรอบคาบวัฏจักรสุริยะ 11 ปี
ลมสุริยะที่เร็วและไหลคงเส้นคงว่าจะมาจากบริเวณละติจูดสูงหรือใกล้ขั้วดวงอาทิตย์
ในขณะที่ลมสุริยะที่เคลื่อนที่ช้าอีกทั้งยังคาดเดาได้ยาก
จะมาจากบริเวณเส้นศูนย์สูตรดวงอาทิตย์
โดยช่วงที่ดวงอาทิตย์เงียบสงบนี้
ยานอวกาศยูลิซิส(Ulysses)
พบว่าลมสุริยะเฉลี่ยมีความดันและความหนาแน่นลดลงประมาณร้อยละ 20 ถึง 25
ของลมสุริยะเมื่อช่วงเดียวกันนี้เมื่อรอบสุริยะครั้งก่อนหรือประมาณ 11
ปีที่แล้ว
ยานอวกาศ
Ulysses วัดลมสุริยะในช่วง Solar minimum, Solar Maximum, และ Solar
Minimum ในรอบถัดไป ตามรอบการโคจรที่ 1 2 และ 3 ตามลำดับ Credit:
McComas et al. GRL, 2008
ลมสุริยะที่อ่อนแรงลงหมายความว่าอาณาเขตของ
heliosphere ที่ห่อหุ้มป้องกันระบบสุริยะ ย่อมหดเล็กลง
และรังสีคอสมิคจากกาแลกซี(galactic cosmic ray)
ซึ่งมาจากดาวฤกษ์ดวงอื่นภายในกาแลกซีทางช้างเผือก
ก็สามารถพุ่งทะลุแนวป้องกันที่ขอบระบบสุริยะมาได้
อันตรายของรังสีคอสมิคกาแลกซี(galactic
cosmic ray) ที่ทะลุผ่านมายังโลกนั้น
ยังถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับรังสีจากดวงอาทิตย์เองเนื่องจากโลกมีสนามแม่เหล็กของตัวเองไว้ป้องกันอนุภาคพลังงานสูงเหล่านั้นอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตามสำหรับภารกิจบนดวงจันทร์หรือดาวอังคารอันเป็นเทหวัตถุในระบบสุริยะที่มีสนามแม่เหล็กความเข้มข้นต่ำหรือแทบไม่มีเลยนั้น
จะเป็นอันตรายต่อสิ่งปลูกสร้าง อุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์
หรือแม้แต่ตัวนักบินอวกาศที่อยู่บนดวงจันทร์หรือดาวอังคารเอง
อย่างไรก็ตามหากดวงอาทิตย์กลับมามีกิจกรรมเชิงแม่เหล็กขึ้นอีกครั้ง
อนุภาคมีประจุจากดวงอาทิตย์ก็มีอันตรายต่อนักบินอวกาศและดาวเทียมเช่นกัน
เฮลิโอสเฟียร์(Heliosphere)
ของระบบสุริยะ ยานอวกาศ Voyager ทั้ง 2 ลำ เดินทางไปถึงขอบ Termination
Shock แล้ว โดนขอบด้านใต้ซึ่งยาน Voyager 2 ไปถึง
อยู่ใกล้กว่าขอบทางด้านเหนือที่เป็นจุดมหายของ Voyager 1 Credit:
NASA/Walt Feimer
อย่างไรก็ดี
ผลการวิจัยแนะว่า ในช่วงที่ดวงอาทิตย์มีกิจกรรมทางแม่เหล็กสูง
นักบินอวกาศควรปฏิบัติภารกิจในอวกาศนานกว่าในช่วงที่
ดวงอาทิตย์เงียบสงบ เพราะช่วงที่ดวงอาทิตย์คลุ้มคลั่ง
แม้จะมีความเสี่ยงสูงกว่า
แต่ก็มีแนวทางการป้องกันอันตรายที่ง่ายกว่ากระแสรังสีคอสมิคพลังงานสูงจากนอกระบบสุริยะนั้น
ยังป้องกันได้ยาก
ผลกระทบของลมสุริยะยังส่งผลไปถึงขอบขอบระบบสุริยะด้วย
อันเป็นสถานที่ที่ยานอวกาศ voyager 1 และ 2 เดินทางเข้าสู่
ชั้นห่อหุ้มชั้นนอกของ heliosphere แม้ว่า Voyager 2
จะถึงขอบระบบสุริยะช้ากว่า Voyager 1 ก็ตาม
แต่กลับพบว่าขอบด้านใต้ของระบบสุริยะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์กว่าขอบด้านเหนือถึง
1.6 พันล้านกิโลเมตร
อันเป็นสิ่งบ่งชี้ว่าอาณาเขตรูปฟองอากาศยุบตัวลงนั่นเอง
ในขณะที่ยาน
Ulysses ถูกวาดหวังให้สังเกตการณ์ดวงอาทิตย์จากระยะใกล้
แต่ตัวยานกลับต้องเผชิญกับปัญหา
เมื่อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากความร้อนกัมมันตรังสี(radioisotope
thermoelectric generators) เริ่มใช้การไม่ได้
และไม่สามารถให้ความร้อนแก่เชื้อเพลิง hydrazine ของยาน
จนเชื้อเพลิงเริ่มถูกแช่แข็งแล้ว
อย่างไรก็ตามคณะทำงานอันเป็นความร่วมมือของ
องค์การบริหารการบินและอวกาศของสหรัฐอเมริกา และองค์การอวกาศยุโรป
ก็พอใจกับปฏิบัติการ Ulysses
ซึ่งได้ทำภารกิจมาเป็นเวลาสี่เท่าของอายุการใช้งานที่เคยคาดกัน
ดาวภาพถ่ายแรกของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ?!!
September 18th,
2008
Adapted from
Space.com:Possible First Photo of Planet Around Sun-like Star
คณะนักดาราศาสตร์นำโดย
David Lafrenière จากมหาวิทยาลัยแห่งโตรอนโต(University of
Toronto)ประเทศแคนาดา ถ่ายภาพโดยใช้กล้องโทรทรรศน์ Gemini North บนยอดเขา
Mauna Kea เกาะฮาวาย
ได้ภาพดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ระบบดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์
พิภพดังกล่าวมีมวลเป็นแปดเท่าของดาวพฤหัสบดี(Jupiter)
และอยู่ห่างจากดาวฤกษ์ 1RXS J160929.1-210524 ประมาณ 330
หน่วยดาราศาสตร์(Astronomical
Unit:ระยะทางเฉลี่ยระหว่างโลกถึงดวงอาทิตย์)
โดยดาวฤกษ์ดังกล่าวมีมวลร้อยละ 85 ของดวงอาทิตย์และอยู่ห่างจากโลกประมาณ
500 ปีแสง แต่แม้จะมีมวลน้อยกว่าดวงอาทิตย์ 1RXS J160929.1-210524
กลับมีอายุน้อยกว่าดวงอาทิตย์ของเรา
ภาพถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์
Gemini ในย่านรังสีอินฟราเรดของดาวฤกษ์ 1RSX J160929.1-210524
และดาวเคราะห์มวล 8 เท่าของดาวพฤหัสบดี จุดสว่างด้านซ้ายมือบน Credit:
Gemini Observatory
เดิมที่ภาพถ่ายดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่เคยถ่ายได้โดยตรง
เป็นของดาวฤกษ์ขนาดเล็กอับแสง ที่รู้จักกันในประเภทดาวแคระน้ำตาล(brown
dwarf)
และขณะที่ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะนับร้อยซึ่งถูกตรวจพบโดยการส่าย(wobble)
ของดาวฤกษ์
อันเนื่องมาจากดาวเคราะห์ที่แสงน้อยกว่าจนแทบจะมองไม่เห็นนั้นฉุดดาวฤกษ์ให้โคจรรอบจุดศูนย์กลางมวลของระบบเทหวัตถุ
ดาวฤกษ์-ดาวเคราะห์
จึงเป็นเรื่องยากที่จะหาดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่พอที่จะถ่ายภาพโดยตรง
นี่จึงเป็นครั้งแรกที่นักดาราศาสตร์สามารถถ่ายภาพดาวเคราะห์มวลมากกำลังโคจรรอบดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์ได้โดยตรง
กล้องโทรทรรรศน์ Gemini North Credit: (c)1999 By Neelon Crawford www.PolarFineArts.com
ในขั้นต่อไป
นักดาราศาสตร์จำเป็นต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าดาวเคราะห์ยักษ์ดังกล่าวกำลังโคจรรอบดาวฤกษ์จริงๆ
หรือเพียงแต่บังเอิญมาอยู่มาอยู่ในบริเวณเดียวกันเท่านั้น
ในการถ่ายภาพระบบวัตถุที่ห่างไกลระบบนี้
คณะนักดาราศาสตร์ใช้เทคโนโลยี adaptive optics
ซึ่งใช้กระจกที่มีความยืดหยุ่นจำนวนมากเพื่อขจัดปัญหาแสงที่ถูกบิดเบือนอันเนื่องมาจากชั้นบรรยากาศโลก
พิภพแปลกประหลาดกับดาวฤกษ์หลักระบบนี้ไม่อาจเกิดขึ้นได้เมื่ออ้างอิงตามทฤษฎีกำเนิดดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบัน
เมื่อเปรียบเทียบกับดาวเคราะห์ที่ไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุดในระบบสุริยะอย่างดาวเนปจูน(Neptune)
ซึ่งอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เพียง 3 หน่วยดาราศาสตร์
ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวงนี้มีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ
1,800 เคลวิน หรือ 1527 องศาเซลเซียส ซึ่งถึงว่าร้อนกว่าดาวพฤหัสบดี
ที่มีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ 160 เคลวิน หรือ -113 องศาเซลเซียส
Upper
Scorpius association เป็นกลุ่มดาวฤกษ์อายุน้อย
ภาพนี้ถ่ายในย่านรังสีอินฟราเรด จาก IRAS
ดอกจันบนภาพแสดงตำแหน่งของดาวฤกษ์มวลมาก ซึ่งอยู่ในสังกัดกลุ่มนี้
Source: http://www.mpifr-bonn.mpg.de/staff/tpreibis/usco.html
คณะผู้ค้นพบ
พบดาวเคราะห์ดวงใหม่นี้ในขณะที่ทำการสำรวจระบบดาว 85 ระบบ ภายใน
กลุ่มดาวฤกษ์ Upper Scorpius association
อันเป็นกลุ่มดาวฤกษ์อายุน้อยซึ่งก่อตัวเมื่อประมาณ 5 ล้านปีก่อน
ดาวหางประหลาดดวงใหม่อธิบายปริศนาดาวหางดวงเก่า
September 3rd,
2008
Adapted from
Space.com: Strange New
Comet Explains Old Mystery
ดาวหางฮัลลีย์(Halley
‘s comet) ซึ่งจะโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ทุกๆ 75 ปี
แล้วเรืองสว่างเป็นหางให้เห็นจากบนโลก
มีทฤษฎีจำนวนมากที่ล้มเหลวในการอธิบายวงโคจรย้อนกลับอันแปลกประหลาดของดาวหางดวงนี้
จวบจนกระทั่งล่าสุด นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวหางที่มีวงโคจรประหลาด
อยู่ไกลออกไปนอกระบบสุริยะซึ่งอาจจะช่วยไขปริศนากำเนิดของดาวหางฮัลลีย์
เส้นทางโคจรของดาวหางฮัลลีย์จะสวนทางกับดาวเคราะห์
ในขณะที่ดาวเคราะโคจรรอบดวงอาทิตย์ในทิศทวนเข็มนาฬิกาเมื่อมองลงจากขั้วเหนือของดวงอาทิตย์
แต่ดาวหางฮัลลีย์จะโคจรรอบดวงอาทิตย์ในทิศตามเช็มนาฬิกา Photo courtesy
NASA/JPL
ดาวหาง
2008 KV42
โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยระนาบโคจรที่ทำมุมกับระนาบโคจรหลักรอบดวงอาทิตย์ของดาวเคราะห์กับดาวเคราะห์น้อย
ประมาณ 104 องศา
ดังนั้นมันจึงดูเหมือนโคจรในทิศทางย้อนกลับกับเทหวัตถุอื่น ในระบบสุริยะ
เช่นเดียวกับดาหางฮัลลีย์ มันถูกค้นพบเป็นครั้งแรกโดยกล้องโทรทรรศน์
Canada-France-Hawaii Telescope บนเกาะฮาวาย
และได้รับการยืนยันจากผลการสังเกตการณ์โดยจากกล้องโทรทรรศน์ MMT
ในมลรัฐอริโซนา สหรัฐอเมริกา หอสังเกตการณ์ Cerro Tololo Inter-American
Observatory (CTIO) ซึ่งมีกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 เมตร
ในประเทศชิลี ตลอดจน Gemini South telescope ในหอสังเกตการณ์ Gemini
Observatory ของประเทศแคนาดาในประเทศ Chile เช่นเดียวกัน
JJ
Kavelaars นักดาราศาสตร์จาก National Research Council of Canada
ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มนักดาราศาสตร์ผู้ค้นพบดาวหาง 2008 KV42
กล่าวว่าดาวหางฮัลลีย์เป็นหนึ่งในดาวหางที่มีชื่อเสียงและไม่อาจอธิบายการเคลื่อนที่รวมทั้ง
แต่ตอนนี้ดาวหางดวงใหม่อาจจะช่วยไขปริศนาของดาวหางฮัลลีย์
เส้นทางโคจรของ 2008 KV 42 (สีแดง) ซึ่งมีความเอียงสูงและสวนทางกับวัตถุอื่นๆ ในระบบสุริยะ Credit: CFEPS
KV42
ถูกค้นพบในขณะที่มันอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 32
เท่าของระยะทางระหว่างโลกถึงดวงอาทิตย์
และจุดที่มันโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดกับอยู่บริเวณวงโคจรของดาวยูเรนัสเท่านั้น(Uranus)
นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่าดาวหางอาจมีกำเนิดในกลุ่มเมฆออร์ต(Oort Cloud)
ซึ่งเป็นวัตถุเชิงทฤษฎีที่คาดว่ากระจายกันเป็นทรงกลมล้อมรอบระบบสุริยะภายในรัศมี
1 ปีแสงจากดวงอาทิตย์
ในขณะที่ดาวฤกษ์ที่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดห่างออกไปเพียง 4 ปีแสง
คณะนักดาราศาสตร์เสนอว่า
ณ เวลาหนึ่งในอดีต แรงโน้มถ่วงจากดาวยูเรนัส เนปจูน
หรือจากดาวฤกษ์พเนจรที่เผอิญโคจรผ่านมาใกล้ดวงอาทิตย์
ทำให้ดาวหางถูกเหวี่ยงออกจากวงโคจรภายในเมฆออร์ตออกห่างจากจุดเดิมประมาณ
0.1 ปีแสง มาในวงโคจรในปัจจุบัน ซึ่งคาบเกี่ยวกับแถบวัตถุคุยเปอร์(Kuiper
Belt Object) อันเป็นสถานที่เทหวัตถุชนิดเดียวกันนี้ถูกค้นพบ
สมมติฐานดังกล่าวสามารถอธิบายวงโคจรในทิศย้อนทวนกับดาวเคราะห์ดวงอื่นและความเอียงของวงโคจร
หากมันกำเนิดภายในเขตทรงกลมของเมฆออร์ต
ดาวหางเกือบทั้งหมดจะต้องมีวงโคจรเอียงทำมุมกับระนาบหลักของระบบสุริยะ
ส่วนดาวหางที่มีถิ่นกำเนิดภายในระนาบหลักย่อมโคจรไปในแนวเดียวกับระนาบหลักอยู่แล้ว
เมฆออร์ต(Oort Cloud) ซึ่งล้อมรอบระบบสุริยะอยู่ Adapted From Donald K. Yeoman’s Illustration (NASA, JPL)
ท้ายที่สุดนักวิจัยทำนายว่า
KV42
สามารถถูกผลักให้เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ยิ่งกว่าที่เป็นอยู่ด้วยการทำอันตรกิริยากับดาวเคราะห์วงนอกและดาวเคราะห์รุ่นใหญ่อย่างดาวพฤหัสบดี(Jupiter)
เหนือกว่านั้น ทั้งฮัลลีย์และ KV42 ดูเหมือนว่าจะมีจุดจบคล้ายกัน
นั่นคือถูกยิงออกไปนอกระบบสุริยะโดยแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์ภายในระบบสุริยะ
เมฆประหลาดที่ขอบอวกาศ
September 3rd,
2008
Adapted
from
Space.com : Strange Clouds Spotted at the Edge of Space
ภาพทัศนียภาพอันแปลกตาปรากฏอยู่เบื้องหน้าเหล่ามนุษย์อวกาศซึ่งประจำอยู่ในสถานีอวกาศนานาชาติ(International
Space Station) ในฤดูร้อนนี้
เมฆบางๆ สีน้ำเงินลอยอยู่ระหว่างขอบเขตของชั้นบรรยากาศโลกและอวกาศ
เมฆเรืองแสง
(noctilucent clouds) ซึ่งพบได้ในยามค่ำคืนเท่านั้น อยู่สูงจากพื้นประมาณ
76 ถึง 85 กิโลเมตร
ที่ซึ่งดาวตกและแสงเหนือแสงใต้(aurora) เกิดเป็นปกติ
และชั้นบรรยากาศทอดตัวประสานกับความมืดของอวกาศ
เมฆดังกล่าวยังคงเป็นปริศนาทางวิทยาศาสตร์มานานกว่า 120 ปี
นับจากพวกมันถูกค้นพบ
เมฆในชั้นเมโซสเฟียร์
ในย่านขั้วโลก หรือที่รู้จักกันในชื่อเมฆเรืองแสงยามค่ำ(noctilucent
cloud)
เป็นปรากฏการณ์ในชั้นบรรยากาศส่วนบนที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว
และถูกสังเกตได้ในช่วงฤดูร้อน ในเขตที่ละติจูดสูงกว่า 50 องศา
ทั้งเหนือและใต้ ภาพนี้ถ่ายจากระดับความสูง 322
กิโลเมตร
ก่อนดวงอาทิตย์จะตกในวันที่ 22 กรกฎาคม 2008 ที่ผ่านมา
ขณะที่สถานีอวกาศนานาชาติกำลังผ่านด้านตะวันตกของมองโกเลีย
Credit: NASA
Gary
Thomas นักวิทยาศาสตร์ด้านบรรยากาศ จากมหาวิทยาลัยแห่งโคโลราโด
สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า “มันน่ารักมาก”
ขณะชมภาพที่ถ่ายจากสถานีอวกาศนานาชาติ
“และมันก็แสดงให้เห็นว่า
เมฆเหล่านี้สูงจริงๆ นะ
ใกล้ขอบอวกาศเลยล่ะ”
เมฆเหล่านี้อยู่ในระดับความสูงซึ่งอากาศมีความชื้นเพียง 1 ใน 1
ล้านของทะเลทรายซาฮารา(Sahara) ในทางตรงกันข้ามเมฆ cirrus
ซึ่งอยู่ในระดับสูง กลับอยู่สูงจากพื้นเพียง 18
กิโลเมตรขึ้นไปเท่านั้น
Thomas
บอกว่าพวกเขามีข้อสันนิษฐานที่ว่าไอน้ำจากชั้นบรรยากาศเบื้องล่าถูกพาขึ้นสู่ด้านบน
ไอน้ำบางส่วนจากเขตร้อน
ซึ่งเป็นหนึ่งในล้านส่วนของน้ำที่หนีขึ้นสู่บรรยากาศชั้นบน
หรือไม่ก็เป็นไอน้ำจาก ปฏิกิริยาออกซิเดชันของมีเทน(methane
oxidation)
พบความหนาแน่นของมีเทนเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจาก 100 ปีก่อน
ซึ่งสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเมฆเหล่านี้ในหลายศตวรรษก่อน
เมฆเรืองแสงเหนือเทือกเขา
Mt. Sabalan ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่ดับแล้ว ความสูง 4.8
กิโลเมตร
ในด้านตะวันตกเฉียงเหนือของอิหร่าน Photo credit: Siamak Sabet
ผู้คนค้นพบเมฆซึ่งเห็นได้ในยามกลางคืนเหล่านี้หลังจากการระเบิดของภูเขาไฟกรากะตัว(Krakatoa)
ในอินโดนีเซีย เมื่อ พ.ศ. 2426
ทำให้เกิดภาพดวงอาทิตย์ตกอันสวยงามเนื่องจากเถ้าธุลีภูเขาไฟซึ่งลอยปะปนในชั้นบรรยากาศ
Robert
Leslie จากเซาท์แธมป์ตัน ประเทศอังกฤษ
พบเมฆดังกล่าวในยามเย็นของเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2428
และตีพิมพ์ผลการสังเกตการณ์ครั้งแรกในวารสาร Nature
เมฆเริ่มกระจายตัวลงมาจากทางเหนือ อย่างเช่น คาบสมุทรสแกนดิเนเวีย
สกอตแลนด์ และไซบีเรีย ลงมาทางใต้
ซึ่งสามารถมองเห็นได้จากรัฐวอชิงตัน
และรัฐโอเรกอน ของสหรัฐฯ
เช่นเดียวกับบริเวณประเทศตุรกีและอิหร่าน
เมฆสีฟ้าถ่ายจากสถานีอวกาศนานาชาติ
Credit: NASA/Don Pettit
นักวิทยาศาสตร์พบเมฆกระจัดกระจายไปเป็นบริเวณกว้างตลอดฤดูร้อนของย่านขั้วโลก
เมฆบางส่วนเกิดขึ้นหลังจากโศกนาฏกรรมของกระสวยอวกาศโคลัมเบีย
ซึ่งน้ำปริมาณกว่า 400 ตัน
จากกระสวยระเหยและลอยเลื่อนไปทางขั้วโลกใต้
ปริศนายังมากขึ้นอีกหลังจากที่ดาวเทียม Aeronomy of Ice in the
Mesosphere(AIM) ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศเมื่อปีที่แล้ว ดาวเทียม
AIM
พบเมฆเรืองแสงลึกลับซึ่งประกอบขึ้นจากผลึกน้ำแข็งขนาดเล็กกว่า 30 นาโนเมตร
(เมื่อเทียบกับเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีขนาดประมาณ 10,000
นาโนเมตร
โดยเมฆดังกล่าวยังคงอยู่ในชั้นบรรยากาศระดับสูงตลอดเวลา Thomas
อธิบายว่า
เพราะขนาดที่เล็กมากของมันทำให้แสงไม่ถูกกระเจิง และทะลุผ่านมาได้
เราจึงมองไม่เห็นเมฆนี้
นอกจากนี้
AIM
ยังพบความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดของเมฆเรืองแสงกับเมฆในชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์(tropospheric
clouds) ซึ่งปกคลุมใกล้ผิวโลก
ซึ่งบ่งบอกว่าพลวัติของสภาพอวกาศในบริเวณใกล้โลกมีความแปลกประหลาดอย่างยิ่ง
คณะนักวิจัยมุ่งศึกษาต้นกำเนิดและการกระจายตัวของเมฆซึ่งโยงใยกับรูปแบบการแปรเปลี่ยนทางอุตุนิยมวิทยากับยุคใหม่
แต่ก็ไม่ได้ละเลยปัจจัยที่เป็นไปได้อื่นๆ อย่างเช่น มีเทน
คาร์บอนไดออกไซด์ จำนวนดาวตกในชั้นบรรยากาศส่วนบน และแม้แต่วัฏจักรจุดมืด
11 ปี(11 year sunspot cycle) ของดวงอาทิตย์