เดือนมกราคม 2552
January 2009
ก๊าซมีเทนบนดาวอังคาร
มาจากกิจกรรมของธรณีวิทยาหรือชีววิทยา? (1)
พวยก๊าซมีเทน
(methane) ที่ถูกตรวจพบหลายจุดบนดาวอังคาร (Mars) เมื่อปี 2546
สามารถชี้ไปยังกระบวนการทางธรณีวิทยาบนดาวเคราะห์สีแดง
หรืออาจจะเกิดจากจุลชีพซึ่งหลบอยู่ใต้ผิวดาวแล้วปลดปล่อยก๊าซชนิดนี้ออกมาจากกระบวนการทางชีวภาพ
ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่ามีสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร
อย่างไรก็ตามแม้จะมีรายงานการค้นพบหลายชิ้นที่สนับสนุนว่าอาจมีสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร
ทว่านักวิทยาศาสตร์ก็ยังคงฉงนกับการค้นพบใหม่ๆ
มีเทน
เป็นก๊าซที่อยู่ในชั้นบรรยากาศของโลกเช่นกัน
แม้จะมีปริมาณน้อยนิดแต่ก็มีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์ของโลก
เช่นเดียวกับบนดาวอังคาร
ดาวอังคารมีก๊าซส่วนใหญ่เป็นคาร์บอนไดออกไซด์(ร้อยละ 95)
และมีมีเทนอยู่น้อยนิดเช่นกัน
จึงเป็นเรื่องยากที่จะตรวจพบก๊าซชนิดนี้บนดาวเคราะห์ดวงที่ 4
ในระบบสุริยะดวงนี้
ข้อเท็จจริงก็คือ ก๊าซมีเทนถูกตรวจพบครั้งแรกเมื่อปี 2546 โดยยานอวกาศ
Mars Express ขององค์การอวกาศยุโรป(European Space
Agency:ESA) โดยยาน
Mars Express โคจรเป็นวงกลมรอบดาวอังคาร
และพบสัญญาณบางอย่างที่อาจจะเป็นก๊าซมีเทน
การค้นพบนี้นำโดย การใช้กล้องโทรทรรศน์บนโลกจำนวน 3 กล้อง
ซึ่งมีพื้นที่สำรวจครอบคลุมผิวดาวอังคารร้อยละ 90
เป็นเวลาสามปีดาวอังคาร หรือ 7 ปีโลก
และพบพวยก๊าซมีเทนที่แปรผันตามฤดูกาลและดูเหมือนจะออกมาจากสถานที่ใดที่หนึ่งโดยเฉพาะ
ซึ่งรวมถึงบริเวณ Arabia Terra, Nili Fossae และ Syrtis
Major
ของดาวอังคาร โดยงานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจาก NASA และ
National
Science Foundation ประเทศสหรัฐอเมริกา
เมื่อปี
2548
นักวิทยาศาสตร์ยังค้นพบสัญญาณที่บ่งชี้ว่ามีน้ำแข็งซ่อนอยู่ใต้ผิวดาวอังคารบริเวณเส้นศูนย์สูตร
ซึ่งเป็นบริเวณที่พบก๊าซมีเทนเช่นกัน
พวยก๊าซมีเทนเริ่มปรากฏให้เห็นในช่วงฤดูใบไม้ผลิของซีกเหนือดาวอังคาร
และค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนมากที่สุดในช่วงปลายฤดูร้อน ณ
ช่วงหนึ่งของการวิจัย พวยก๊าซขั้นต้นบรรจุก๊าซมีเทนไว้ถึง 21,000
ตัน
เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณก๊าซไฮโดรคาร์บอนที่รั่วออกมาจาก Coal Pit Point
ใน Santa Barbara คาลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
สถานที่มีเทนรั่วออกมายังคงเป็นปริศนา แม้ว่า Michael Mumma
จากศูนย์การบินอวกาศกอดดาร์ด(Goddard Space Flight Center) ในเมือง
Greenbelt มลรัฐแมรีแลนด์ สหรัฐอเมริกา
และคณะผู้เขียนรายงานการวิจัยลงในวารสาร Science ฉบับวันที่ 15
มกราคม
การปลดปล่อยก๊าซมีเทนดูเหมือนจะเชื่อมโยงกับความร้อนที่เกิดขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนภายในซีกเหนือของดาวอังคาร
ความร้อนสามารถละลายน้ำแข็งที่ผนึกอยู่ในช่องว่างหรือรอยแยกของพื้นที่ลาดชันอย่างเช่น
หน้าผาหรือผนังหลุมอุกกาบาต
ซึ่งคล้ายกับสิ่งที่เกิดในฤดูหนาวบนโลก
เมื่อซีกถนนหนึ่งได้รับแสงแดดแล้วน้ำแข็งละลายกลายเป็นน้ำ
ส่วนอีกซีกถนนหนึ่งกลับยังคงจับตัวเป็นน้ำแข็ง
มีเทนที่พบบนดาวอังคารนี้อาจจะมาจากส่วนที่ลึกลงไปใต้พื้นผิว
ก๊าซมีเทนบนดาวอังคาร
มาจากกิจกรรมของธรณีวิทยาหรือชีววิทยา? (2)
อย่างไรก็ดี
ยังมีคำอธิบายอื่นอีก
มีเทนที่พบสามารถเกิดจากกระบวนการทางธรณีวิทยาใกล้ผิวดิน
ในบริเวณที่สูงของผืนดินดาวอังคาร
“เราไม่สามารถบอกความแตกต่าง ณ
จุดนี้ได้” Mumma กล่าว
บนโลกกระบวนการทางธรณีวิทยา
ซึ่งปลดปล่อยมีเทนออกมาคือ
“ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับภูเขาไฟ”
แต่ทว่านักวิทยาศาสตร์ยังไม่อาจค้นพบภูเขาไฟบนดาวอังคารที่ปลดปล่อยก๊าซปริมาณมหาศาลออกมา
ความเป็นไปได้อีกประการหนึ่งก็คือ กระบวนการที่เรียกว่า
serpentization
ซึ่งแปลงออกไซด์ของเหล็ก(iron oxide) ให้กลายเป็นแร่ serpentine
อย่างไรก็ดี
ความเป็นไปได้ที่ว่ามีเทนดังกล่าวมาจากจุลชีพใต้ผิวดาวอังคารดูน่าสนใจที่สุด
สิ่งที่คล้ายคลึงกับโลกที่พอจะเป็นไปได้คือ
กลุ่มหรือชุมชนของสิ่งมีชีวิตระดับไมโคร(micro) 1/1000000 เมตร
หรือจุลชีพที่อาศัยอยู่ในเหมืองทอง ลึกลงไปไม่กี่กิโลเมตรจากผิวโลก
ในบริเวณ Witwatersrand Basin แอฟริกาใต้
จุลชีพเหล่านี้ใช้โมเลกุลไฮโดรเจน(ที่แตกตัวออกมาจากโมเลกุลน้ำ)ในบริเวณดังกล่าว
เป็นแหล่งพลังงาน แล้วเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์(carbon dioxide)
ให้เป็นมีเทน โดยไม่จำเป็นต้องใช้แสงอาทิตย์
เหมือนเช่นกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง(photosynthesis)
สิ่งที่เกิดขึ้นนี้จึงเกิดขึ้นภายใต้ผิวดินดาวอังคาร
ที่ซึ่งน้ำสามารถเปลี่ยนสถานะจากน้ำแข็งเป็นน้ำในสถานะของเหลวซึ่งเป็นตัวจ่ายไฮโดรเจนให้จุลชีพ
Mumma เตือนว่า
“เราไม่สามารถกล่วาได้ว่าเราพบกระบวนการทางชีววิทยาหรือปฏิเสธมัน”
ขณะที่
Tullis Onstott จากมหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน(Princeton
University)
และคณะกำลังทำงานกับอุปกรณ์ที่จะส่งไปติดตั้งกับภารกิจสำรวจดาวอังคารด้วยรถสำรวจซึ่งจะสามารถติดตามค้นหาต้นกำเนิดของมีเทน
ด้านนอกพวยก๊าซมีเทน ความหนาแน่นของมีเทนมีต่ำมาก
แสดงว่าก๊าซชนิดนี้ไม่ได้เคลื่อนที่อย่างรวดเร็วหรือคงสภาพอยู่เป็นระยะเวลานาน
ในความเป็นจริง
ช่วงชีวิตของมีเทนสั้นกว่าที่คาดหรือจากการอธิบายด้วยการสลายโมเลกุลมีเทนด้วยแสง(photolysis)
ปฏิกิริยาออกซิเดชัน(กระบวนการเดียวกับที่ทำให้เกิดสนิมเหล็ก)สามารถทำลายโมเลกุลมีเทน
ยานไวกิ้งที่เคยลงสู่ผิวดาวอังคารพบ peroxide ในฝุ่นดาวอังคาร และยาน
Phoenix Mars Lander ก็พบหลักฐานของ perchlorate
แร่ชนิดหนึ่งที่จะรวมตัวกับออกซิเจนกลายเป็นออกไซด์
ในบริเวณขั้วเหนือของดาวอังคาร
Mumma
และคณะอธิบายว่าฝุ่นที่เคลือบด้วย peroxide
จะฟุ้งขึ้นไปในอากาศและทำลายโมเลกุลมีเทน
คณะนักวิจัยกำลังวางแผนที่จะทำการสังเกตการณ์ดาวอังคารให้มากขึ้นจากกล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดิน
เพื่อค้นหาพวยก๊าซให้มากกว่านี้
เช่นเดียวกับการสำรวจครั้งก่อน
“ประเด็นที่ยังข้องใจก็คือเหตุการณ์นี้เกิดแบบชั่วคราวหรือเกิดเป็นประจำทุกปี”
Mumma อธิบาย
แต่แม้การสังเกตการณ์จากโลกสามารถบอกนักวิทยาศาสตร์ได้มากมายเพียงใด
“แต่ท้ายที่สุดการทดสอบที่แท้จริงจะต้องไปที่นั่น” Mumma
กล่าว
รถสำรวจดาวอังคาร Mars Science Rover ซึ่งมีกำหนดส่งขึ้นสู่อวกาศในปี
2554 มีความสามารถในการตรวจหาก๊าซมีเทน
หินของดวงจันทร์หลายก้อนซึ่งถูกนำกลับมาที่โลกโดนนักบินอวกาศโครงการ
Apollo เป็นหีบที่เก็บงำความลับที่คาใจนักวิทยาศาสตร์มานับ 40 ปี
ทำไมหินดวงจันทร์จึงมี “สภาพแม่เหล็ก”? ขณะที่โลกหมุนตัว
แกนโลกที่เป็นโลหะจะทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก(magnetic field) ของโลก
แต่สำหรับดวงจันทร์ที่ไม่มีแกนโลหะ
จะเกิดสนามแม่เหล็กได้อย่างไร
นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซท หรือ MIT
สหรัฐอเมริกา
คิดว่าพวกเขาพบคำตอบแล้ว โดยเมื่อประมาณ 4,200 ล้านปีก่อน
ดวงจันทร์มีแกนกลางเป็นโลหะหลอมเหลวเหมือนโลกในปัจจุบัน
ซึ่งทำให้เกิดสนามแม่เหล็กความเข้มสูง
สนามแม่เหล็กดวงจันทร์ในช่วงเวลานั้นมีความเข้มข้นประมาณ 1 ใน 50 ส่วน
ของสนามแม่เหล็กโลกในปัจจุบัน
คณะทำงานจาก
MIT พบหลักฐานว่าดวงจันทร์เคยมีแกนกลางแบบเหลวนี้
จากการวิเคราะห์หินดวงจันทร์ที่เก่าที่สุด
ที่ยังไม่เคยได้รับผลกระทบจากการชนของอุกกาบาต
ซึ่งจะลบร่องรอยของสนามแม่เหล็กในยุคโบราณออกไป
ข้อเท็จจริงก็คือมันเก่าแก่ยิ่งกว่าหินจากดาวอังคารหรือแม้แต่หินที่พบบนผิวโลกในปัจจุบัน
หินตัวอย่างที่นำมาศึกษานี้ถูกเก็บมาโดย Harrison Jack Schmitt
นักบินอวกาศที่ลงจอดบนผิวดวงจันทร์ด้วยยาน Apollo 17
และยังเป็นนักธรณีวิทยาเพียงคนเดียวที่เคยไปย่ำเท้าบนดวงจันทร์
Ben
Weiss จาก MIT ผู้เขียนอาวุโสซึ่งร่วมเขียนในรายงานการวิจัยนี้
และตีพิมพ์ลงในวารสาร Science ฉบับวันที่ 16 มกราคม ศกนี้ กล่าวว่า
“หลายคนคิดว่ามันเป็นหินดวงจันทร์ที่น่าสนใจที่สุด”
Weiss และคณะใช้อุปกรณ์ตรวจวัดสนามแม่เหล็กแบบเชิงพาณิชย์ที่ออกแบบมาสำหรับระบบหุ่นยนต์เพื่อศึกษาสนามแม่เหล็กของหินดวงจันทร์ที่มีความเข้มข้นน้อยมาก
ผลที่ได้ช่วยแยกแยะสนามแม่เหล็กที่เกิดจากสาเหตุที่ต่างกันได้
ในขณะที่หินแม่เหล็กที่เกิดขึ้นจากการแรงกระแทกของอุกกาบาตกับผิวดวงจันทร์
จะรักษาสภาพขั้วแม่เหล็กได้ไม่นาน เพียงแค่ไม่กี่วินาทีถึง 1 วัน
(ในกรณีที่เกิดการชนอย่างรุนแรง) สภาพขั้วแม่เหล็กก็จางหายไปแล้ว
ในขณะที่หินจากดวงจันทร์ที่นำมาตรวจหาสนามแม่เหล็กนั้น
กลับยังคงสภาพขั้วแม่เหล็กไว้ได้อย่างยาวนานนับหลายล้านปี
เมื่ออยู่ในอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีสนามแม่เหล็กธรรมชาติ
และนั่นทำให้สรุปได้ว่าในยุคโบราณจะต้องมีสนามแม่เหล็กของดวงจันทร์เป็นระยะเวลานาน
“นี่ไม่ใช่แนวคิดใหม่
แต่มันเป็นหนึ่งในประเด็นโต้เถียงเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ด้านดวงจันทร์”
Weiss เสริม กระทั่งปฏิบัติการ Apollo
นักวิทยาศาสตร์ผู้โด่งดังหลายคนเชื่อมั่นว่าดวงจันทร์เกิดมาแบบเย็นและคงอยู่ในสภาพเย็นนั้น ไม่เคยอยู่ในสภาพอุณหภูมิสูงพอที่จะเกิดแกนกลางโลหะเหลว
แต่โครงการ Apollo
พิสูจน์ให้เห็นว่าเคยมีการไหลของหินหลอมเหลวหรือลาวา(lava)
บนผิวดวงจันทร์ แต่แนวคิดที่ว่า “มี” หรือ
“เคยมี”
แกนกลางเป็นโลหะหลอมเหลว ยังคงเป็นข้อถกเถียงไม่จบสิ้น
งานวิจัยนี้สอดคล้องกับทฤษฎีที่ว่าดวงจันทร์เกิดจากเทหวัตถุขนาดพอๆ
กับดาวอังคาร(Mars) พุ่งเข้าชนโลกและทำให้เปลือกดาวเคราะห์
จำนวนมากถูกสาดกระจายออกสู่อวกาศ แล้วรวมตัวกันใหม่เป็นดวงจันทร์
เพราะการชนอย่างรุนแรงดังกล่าวจะทำให้วัสดุมีอุณหภูมิสูง
และแกนกลางที่เป็นโลหะหลอมเหลว
SOHO ฉลองดาวหางดวงที่ 1,500
SOHO celebrates 1500th
comet discovery
มันคือเครื่องมือค้นหาดาวหางที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์
เมื่อดาวเทียม SOHO พึ่งจะถึงหมุดหมายของการเดินทางหมุดใหม่
นั่นคือการค้นพบดาวหางดวงที่ 1,500
ทำให้มันเป็นเครื่องมือค้นหาดาวหางที่เยี่ยมยอดกว่านักค้นหาอื่นใดเท่าที่ประวัติศาสตร์โลกจะมีมา
ไม่เลวนักสำหรับยานอวกาศที่ถูกออกแบบมาเพื่อนภารกิจด้านฟิสิกส์ของดวงอาทิตย์
ดาวหางดวงใหม่นี้ถูกพบจากภาพถ่ายเมื่อวันที่
25 มิถุนายน 2551 โดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่นชาวอเมริกันนามว่า Rob
Matson
และนี่เป็นดาวหางดวงที่ 76 ของ Rob ซึ่งค้นหาผ่านดาวเทียม SOHO
หอสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์และอาณาบริเวณโดยรอบดวงอาทิตย์(SOlar
and Heliospheric Observatory:SOHO)
โคจรอยู่ในตำแหน่งระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์
ซึ่งเป็นจุดสังเกตการณ์อวกาศรอบดวงอาทิตย์และดวงอาทิตย์ที่หาไม่ได้ง่ายๆ
นักบนโลก
ซึ่งบนผิวโลกอวกาศจะถูกบดบังโดยท้องฟ้ายามกลางวันที่แสงจากดวงอาทิตย์ถูกชั้นบรรยากาศทำให้กระเจิง
ดังนั้นเราจะเห็นอวกาศใกล้ดวงอาทิตย์ได้ก็ต่อเมื่อเกิดสุริยุปราคาเท่านั้น(solar
eclipse)
ประมาณการอย่างหยาบๆ ร้อยละ 80 ของดาวหางที่ถูกพบโดย SOHO
รวมทั้งดวงที่ 1,500 นี้
เป็นชิ้นส่วนจากดาวหางขนาดใหญ่กว่าที่แตกออกขณะโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์
เมื่อหลายศตวรรษก่อน ชิ้นส่วนเหล่านั้นเรียกว่ากลุ่มของ
Kreutz
และจะโคจรผ่านเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่ระยะประมาณ 1.5 ล้านกิโลเมตร
เมื่อพวกมันกลับมาจากอวกาศห้วงลึก
โดยทั่วไปเศษดาวหางเหล่านั้นจะถูกทำลายโดยความร้อนจากดวงอาทิตย์
ภายใต้การเฝ้ามองของกล้อง Large Angle and Spectrometric
Coronograph
(LASCO) ซึ่งเป็นหนึ่งใน 12 อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนดาวเทียม SOHO
แน่นอนโดยตัว LASCO เองไม่ได้เป็นผู้ค้นพบ
ภาระหน้าที่นี้ตกเป็นของอาสาสมัครทักษะสูงกลุ่มหนึ่งซึ่งสามารถพิจารณาข้อมูลได้ทันทีที่ดาวเทียม
SOHO ส่งข้อมูลลงมาบนโลก
ข้อมูลดังกล่าวจะอยู่ในเครือข่ายอินเตอร์เนตและพร้อมสำหรับการนำไปวิเคราะห์เพียง
15 นาที หลังจากหน่วยรับข้อมูลบนโลกได้รับ
ผู้สนใจจากทั่วโลกต่างพิจารณาแต่ละภาพถ่ายเพื่อค้นหาจุดแสงที่กำลังเคลื่อนที่ซึ่งคาดว่าจะเป็นดาวหาง
เมื่อใครก็ตามที่เชื่อว่าตนเองค้นพบดาวหาง ก็จะรายงานไปยัง Karl Battams
แห่ง ศูนย์ปฏิบัติการณ์วิจัยกองทัพเรือ(Naval Research Laboratory)
ในนครวอชิงตัน ดีซี
ซึ่งจะเป็นผู้ตรวจสอบก่อนที่จะส่งผ่านไปยังศูนย์ดาวเคราะห์น้อย(Minor
Planet Center) ที่ซึ่งดาวหางถูกขึ้นบัญชีและมีข้อมูลวงโคจรสำหรับการคำนวณ
ความมั่งคั่งของข้อมูลดาวหางมีคุณค่ามากไปกว่าการใช้แยกแยะประเภท
Battams กล่าวว่า
“สิ่งนี้ทำให้เรามองเห็นความตายของดาวหาง”
เมื่อดาวหางดวงหนึ่งโคจรรอบดวงอาทิตย์อย่างสม่ำเสมอ
ดังนั้นมันจะสูญเสียน้ำแข็งออกไปทุกๆ ครั้ง
จนกระทั่งมันแตกออกเป็นชิ้นๆ
เกิดเป็นแนวทางของเศษชิ้นส่วน ต้องขอบคุณ SOHO
ที่ช่วยนักดาราศาสตร์ด้วยภาพถ่ายอันล้นเหลือทำให้สามารถมองเห็นกระบวนการดังกล่าวได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
เหนือสิ่งอื่นใด
สิ่งสืบเนื่องสุดพิเศษจากปฏิบัติการณ์ทางฟิสิกส์ดวงอาทิตย์ซึ่งปฏิบัติงานมากว่า
13 ปี ด้วยการสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์และอวกาศใกล้ดวงอาทิตย์
“การเก็บเกี่ยวดาวหางจำนวนมากถือเป็นโบนัสที่ไม่ได้วางแผนมาก่อน”
Bernhard Fleck นักวิทยาศาสตร์ประจำโครงการ SOHO กล่าว
มนุษย์ต่างครุ่นคิดถึงปริศนาของดาวอังคารมานานนับพันปี
โดยเฉพาะคำถามที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง อย่างเช่น
“มีสิ่งมีชีวิตอยู่ที่ดาวอังคารหรือไม่?”
จากหลักฐานที่ค้นพบภายในปี 2551
ยานสำรวจภาคพื้นดินทั้งแบบร่อนลงจอดเฉพาะที่ และแบบรถหุ่นยนต์สำรวจ
ล้วนส่งข้อมูลที่บ่งบอกว่าดาวเคราะห์ที่เต็มไปด้วยฝุ่นดวงนี้เคยมีน้ำอยู่บนพื้นผิว
การเปลี่ยนแปลงด้านอุตุนิยมวิทยา ร่องรอยทางธรณีวิทยา
และสารเคมีล้วนแต่เป็นสิ่งที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร
ภารกิจที่พบหลักฐานสำคัญในปีนี้ได้แก่
ยานจอดสำรวจ Phoenix Mars Lander ขององค์การบริหารการบินและอวกาศ(NASA)
ศึกษาผิวของที่ราบเขตขั้วเหนือของดาวอังคาร ตั้งแต่วันลงจอด คือวันที่ 25
พฤษภาคม จนกระทั่งหมดพลังงานไปเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน
ยานอวกาศแบบโคจรรอบดาวอังคาร ยาน Mars Reconnaissance Orbiter (MRO) ของ
NASA ได้ใช้อุปกรณ์ถ่ายภาพความละเอียดสูงเพื่อสำรวจผิวดาวเคราะห์
และจบการทำงานในขั้นแรกที่กินระยะเวลาถึง 2 ปี
รถหุ่นยนต์สำรวจ
Spirit และ Opportunity ในโครงการ Mars Exploration Rovers ของ NASA
ปฏิบัติภารกิจครบ 4 ปี เมื่อเดือนมกราคม
และกำลังจะฉลองการทำงานครบห้าปีภายในเดือนมกราคม 2552
สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับสิ่งมีชีวิตที่จะกำเนิดขึ้นบนดาวเคราะห์หรือดวงจันทร์
ก็คือ “น้ำในสถานะของเหลว” ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์ของ
NASA
จึงพยายามตอบคำถามด้วยการ “ติดตามหาน้ำ”
แม้ว่าปัจจุบันดาวอังคารจะแห้งกรัง
นักวิทยาศาสตร์ก็ยังทราบว่ามีร่องรอยของลำธาร ก้นแม่น้ำ
และแอ่งทะเลสาบ
ที่บ่งชี้ว่าครั้งหนึ่งเคยมีน้ำไหลอยู่บนผิวดาวเคราะห์ดวงนี้
แต่เมื่อมีน้ำไหล ไม่ว่าจะมีสิ่งมีชีวิตหรือไม่
ร่องรอยเหล่านั้นอาจเกิดจากสายฝน น้ำแข็งที่ละลายออก หรือน้ำใต้ดิน
ก็ยังคงเป็นคำถามอยู่ดี
มีหลายกระบวนการที่ทำให้เกิดโครงสร้างของพื้นผิวดาวที่เกี่ยวข้องกับน้ำ
เช่น “น้ำใต้ดิน”
มหาสมุทรทะเลสาบภายในหลุมอุกกาบาต
น้ำพุร้อน(hydrothermal spring)
การไหลบ่าของน้ำชั่วแบบฉับพลัน ฝนตก
ซึ่งแสดงว่ามีน้ำปริมาณมหาศาลที่ถูกเก็บซ่อนเอาไว้เป็นเวลานาน
หลักฐานชี้ว่าการสะสม เอ่อท่วม และพฤติการณ์อื่นๆของน้ำ
หยุดลงเมื่อประมาณ 1000 ล้านปีแรกของดาวอังคาร ภายในประวัติศาสตร์ 4,500
ล้านปีของดาวอังคาร แต่ภาพถ่ายจาก HiRISE ของยาน MRO
และตะกอนดินสะสมสีอ่อน
กลับบ่งบอกว่าดาวอังคารจะต้องมีน้ำหลงเหลืออยู่นานกว่านั้นอีกจนถึงช่วงอายุ
2000 ล้านปี ส่วนตะกอนสีเหลืองมุกที่พบโดย MRO
ก็บ่งบอกว่าดาวอังคารยังเปียกอยู่ได้นานกว่านั้น
การสำรวจโดย MRO พบแร่ที่ชื่อว่า phyllosilicates ก็ใช้แปลผลได้ว่า
น้ำกระจายตัวไปทั่วผิวดาวอังคารได้กว้างขวางกว่าที่เราเคยคิด ยาน
Phoenix
สามารถยืนยันการมีอยู่ของน้ำแข็งใต้ผิวดินบริเวณที่ราบขั้วเหนือของดาวอังคาร
นักวิทยาศาสตร์กำลังง่วนอยู่กับการวิเคราะห์ฝุ่นดินบริเวณนั้น
เพื่อค้นหาว่าหากชั้นน้ำแข็งครั้งหนึ่งเคยเป็นของเหลว
และดาวอังคารโคจรด้วยมุมเอียงมากจนขั้วเหนือเริ่มอบอุ่นขึ้น
ผลการศึกษาเบื้องต้นสรุปได้ว่าสิ่งนี้อาจเกิดขึ้นจริงเมื่อยาน Phoenix
ตรวจพบสัญญาณที่บ่งบอกว่ามี “ดินเหนียว”
อยู่ภายในบริเวณดังกล่าว
ซึ่งดินเหนียวจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเคยมี “น้ำ”
ในสถานะของเหลวมาก่อน
ไม่ว่าจะน้ำในสภาพน้ำแข็งที่ขั้วดาวอังคารจะเคยเปลี่ยนไปเป็นของเหลวใต้ผิวจริงหรือไม่
แต่ MRO
ก็พบแผ่นน้ำแข็งที่หนาผิดปกติซ่อนอยู่ข้างใต้ขั้วเหนือดาวอังคาร
แสดงว่าดาวเคราะห์ดวงนี้เย็นยะเยือกกว่าที่นักวิทยาศาสตร์เคยคาดไว้
และยิ่งหากมันเคยเปลี่ยนเป็นของเหลวมาก่อน
ก็จะต้องเป็นแหล่งน้ำที่ลึกเกินคาดทีเดียว
ขณะที่น้ำดูเหมือนจะมีอยู่บนดาวอังคารอย่างแน่นอนในอดีต แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าน้ำเหล่านั้นจะมีศักยภาพพอที่จะให้จุลชีพบนดาวอังคารหรือสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ได้กำเนิดและวิวัฒนาการ ข้อมูลจากยาน Opportunity และผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าน้ำบนดาวอังคารมีความเค็มสูง เพราะแม้แต่ halophiles ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตบนโลกที่อาศัยได้ในที่ๆ มีความเค็มสูง ก็ต้องมีปัญหาเมื่อเจอกับน้ำที่มีความเค็มสูงบนดาวอังคาร
ท้องฟ้าและผืนดินสีส้มของเขตขั้วเหนือของดาวอังคาร
ถ่ายจากกล้องบนยาน Phoenix Mars Lander
แขนกลและแผงเซลล์สุริยะของยาน
Phoenix ปรากฏในภาพ ภาพนี้ถ่ายเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2551
Credit: NASA/JPL-Caltech/University of Arizona/Texas A&M University
ผลการค้นพบโดยรถสำรวจทั้งสองคันยังเขียนภาพอันไม่เป็นมิตรต่อสิ่งมีชีวิตของดาวอังคารอีก เมื่อมีการตรวจพบฝุ่นที่มีความเป็นกรดซึ่งอุดมไปด้วยสารซัลเฟต(sulfate)
จากภูเขาไฟ
นี่บ่งบอกว่าครั้งหนึ่งเคยมีน้ำบนพื้นที่ที่กำลังถูกสำรวจ(ใกล้เส้นศูนย์สูตร)มีความเป็นกรดจนมีความเหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิตน้อย
ผลการวิเคราะห์ล่าสุดจากข้อมูลของ MRO
พบกลุ่มของพื้นผิวที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของแอ่งน้ำที่มีความเป็นกรด
ยานอวกาศ MRO ยังค้นพบสัญญาณของสารคาร์บอเนต(carbonate)
ซึ่งละลายภายในกรด
สิ่งนี้บ่งบอกว่าบางพื้นที่บนผิวดาวอังคารมีความเหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิตน้อย
และสามารถจะมีสัญญาณของสิ่งมีชีวิตใดๆ
ที่อาจทานทนต่อความเป็นกรดนั้น
ทว่ายาน Phoenix
ยังพบสถานที่ที่เอื้อต่อสิ่งมีชีวิตได้มากกว่าแหล่งที่กล่าวข้างต้น
ซึ่งจากอุปกรณ์ของตัวยานวิเคราะห์พบว่าฝุ่นบริเวณจุดลงจอด(ที่ราบใกล้ขั้วเหนือ)
มีธาตุจำพวกโลหะอัลคาไลน์(alkaline)
ตัวอย่างดินดาวอังคารที่ถูกตักขึ้นมาทดสอบโดยยาน Phoenix ยังตรวจพบ
perchlorate
สารประกอบที่อาจเป็นแหล่งพลังงานสำหรับจุลชีพดาวอังคาร MRO
ตรวจพบ ferrous หรืออะตอมเหล็กที่สูญเสียอิเล็คตรอน
ซึ่งโดยทั่วไปจะเกิดจากจุลชีพ บนโลก
อย่างไรก็ดีมีกระบวนการอื่นอย่างเช่นปฏิกิริยาจากคาร์บอนอินทรีย์ที่มาจากดาวหางที่จะเพิ่ม
ferrous ให้กับผิวดาวอังคาร
ภูเขาทางทิศตะวันตกของเขต Hellas ของดาวอังคาร ซึ่งล้อมรอบด้วยดินตะกอนซึ่งนักวิทยาศาสตร์คาดว่าเป็นเศษหินดินที่ปกคลุมธารน้ำแข็ง
Credit: ESA/DLR/FU Berlin
การทำความเข้าใจสภาพทางอุตุนิยมวิทยาของดาวอังคาร
ทั้งในอดีตและปัจจุบัน
เป็นสิ่งสำคัญในการวัดศักยภาพในการเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของดาวเคราะห์
และหลายภารกิจในปีนี้ที่ระบายภาพของสภาพอากาศดาวอังคาร
เป็นที่ทราบกันดีว่าสภาพอุตุนิยมของดาวอังคารแปรผันตามแกนหมุนของดาวอังคารทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมุมของแกนหมุนเทียบกับระนาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์
ทำให้ขั้วและศูนย์สูตรดาวเปลี่ยนจากอุ่นเป็นหนาว
หลักฐานนี้ได้มาจากยาน
MRO ที่ถ่ายภาพที่ชี้ว่ามีธารน้ำแข็งบริเวณศูนย์สูตร
ซุกซ่อนอยู่ใต้ซากหินดิน(ซึ่งช่วยป้องกันการละลายของน้ำแข็ง)
ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อช่วงที่ดาวอังคารมีสภาพอากาศแตกต่างไปจากปัจจุบัน
เหนือพื้นผิวขึ้นไปยาน Mars Express orbiter ขององค์การอวกาศยุโรป(the
European Space Agency:ESA) พบเมฆน้ำแข็งแห้ง(dry ice)
หรือคาร์บอนไดออกไซด์แช่แข็ง ภายในชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร
และทำให้เกิดเงาบนผิวดาว
รวมทั้งส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศท้องถิ่นและรูปแบบการพัดของลม
ภาพนี้แสดงเมฆคาร์บอนไดออกไซด์บริเวณขั้วเหนือของดาวอังคาร โดยถ่ายจากอุปกรณ์ OMEGA
ซึ่งติดตั้งบนยาน Mars Express เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2547
Credits: ESA/OMEGA team
ยาน Phoenix
ก็พบว่าจำนวนเมฆบริเวณจุดลงจอดเพิ่มขึ้นมากในช่วงฤดูหนาวของซีกเหนือดาวอังคาร
อีกทั้งยังพบหิมะกำลังตกลงมา และแข็งตัวบนผิวดาว
นอกจากนี้ยังพบวัฏจักรของน้ำระหว่างผิวดาวกับชั้นบรรยากาศจากกลางคืนถึงกลางวัน
ในช่วงเวลาอบอุ่นและเปียกชื้น น้ำจะหยดลงสู่ผิว ทำให้เกิดฟิลม์บางๆ
ของน้ำที่จุลชีพบางชนิดสามารถอาศัยได้
ขณะที่การค้นพบเหล่านี้เติมเต็มช่องว่างแห่งความไม่เข้าใจต่ออดีตของดาวอังคาร
แต่ก็ยังมีช่องโหว่อีกหลายจุด รถสำรวจทั้งสองคัน (Spirit กับ
Opportunity) , MRO และ ยานโคจรรอบดาวอังคารลำอื่นๆ รวมทั้งปฏิบัติการณ์
Mars Science Laboratory และ Maven
ที่จะเป็นโครงการต่อไปสำหรับสำรวจดาวอังคาร
----------------------------------------------------------